Hospital โรงพยาบาล Health สุขภาพ Clinic คลินิก Surgery ศัลยกรรม ความงาม ตรวจสุขภาพHospital โรงพยาบาล Health สุขภาพ Clinic คลินิก Surgery ศัลยกรรม ความงาม ตรวจสุขภาพHospital โรงพยาบาล Health สุขภาพ Clinic คลินิก Surgery ศัลยกรรม ความงาม ตรวจสุขภาพHospital โรงพยาบาล Health สุขภาพ Clinic คลินิก Surgery ศัลยกรรม ความงาม ตรวจสุขภาพHospital โรงพยาบาล Health สุขภาพ Clinic คลินิก Surgery ศัลยกรรม ความงาม ตรวจสุขภาพ

Sunday, September 25, 2011

สวยใสก่อนเป็นเจ้าสาว ที่ศูนย์เลเซอร์ผิวหนังศิริราช Siriraj Skin Laser

สวยใส…ก่อนเป็นเจ้าสาว ที่ศูนย์เลเซอร์ผิวหนังศิริราช
www.theweddinghome.com/ Wedding_ShareDetail.asp ?Code=A53...
นอกจากการรักษาภาวะผิดปกติของผิวหนังแล้ว ศูนย์เลเซอร์ผิวหนัง โรงพยาบาลศิริราช ยังดูแลฟื้นฟูสภาพผิวหนังเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการรักษาอย่างสูงสุดอีก ด้วยค่ะ ...

สวยใส ก่อนเป็นเจ้าสาว ที่ศูนย์เลเซอร์ผิวหนังศิริราช ใกล้ถึงวันที่จะเป็นเจ้าสาวแล้ว แต่หน้ายังเห่อทั้งสิว ทั้งฝ้า ไหนจะจุดด่างดำอีกเต็มไปหมด ก็รู้หรอกนะว่าอย่างไร Make up ก็เป็นตัวช่วยสุดท้ายได้อยู่ดี แต่ส่องกระจกทีไรเป็นได้รำคาญหัวใจทุกทีสิน่า ก็เม็ดเล็กๆ และหลุม บนใบหน้าที่อาจไม่มีสายตาประชาชีที่ไหนมาพิจารณา แต่คุณเองก็คงไม่อยากเป็นเจ้าสาวที่พอล้างเครื่องสำอางค์ออกแล้ว กลายเป็นคนละคนกับเจ้าสาวหน้าใสเมื่อครู่ใช่ไหม

จะรอช้าอยู่ใย เพราะเดี๋ยวนี้แค่คุณเดินเข้าไปในห้างสรรพสินค้าใกล้บ้านทุกหนทุกแห่งก็จะพบกับสถานเสริมความงามเอย คลินิกแพทย์ผิวหนังเอย ให้คุณเลือกแบบตัดสินใจไม่ถูกเลยล่ะค่ะ ก็ด้วยรูปแบบการจัดหน้าร้านที่ใช้สาวหน้าใสมาเป็นพรีเซนเตอร์เหมือนกันหมด เลยไม่รู้ว่าร้านไหนดีจริง หรือร้านไหนราคาพอจะสู้ไหวบ้าง

เอาเป็นว่าก่อนจะตัดสินใจควักกระเป๋าให้กับความสวยบนใบหน้าที่กำลังรอคุณอยู่นั้น มีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับสถานที่ให้การรักษาโรคผิวหนัง ด้วยเลเซอร์อันทันสมัยจาก คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ที่ตรวจรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมาฝากกัน
สวยใสก่อนเป็นเจ้าสาว ที่ศูนย์เลเซอร์ผิวหนังศิริราช Siriraj Skin Laser สวยใสก่อนเป็นเจ้าสาว ที่ศูนย์เลเซอร์ผิวหนังศิริราช Siriraj Skin Laser
นอกจากการรักษาภาวะผิดปกติของผิวหนังแล้ว ศูนย์เลเซอร์ผิวหนัง โรงพยาบาลศิริราช ยังดูแลฟื้นฟูสภาพผิวหนังเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการรักษาอย่างสูงสุดอีกด้วยค่ะ ตอนนี้ว่าที่เจ้าสาวทุกคนคงอยากทราบแล้วใช่ไหมคะว่า ที่นี่เขามีบริการอะไร อย่างไรบ้าง มาเริ่มกันเลยดีว่าค่ะ

1. เลเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์ เลเซอร์ชนิดนี้สามารถกำจัดเนื้องอกได้แม่นยำ และรวดเร็วกว่าวิธีศัลยกรรมเดิมๆ ทั้งกระเนื้อ ไฝ หูด หรือมะเร็งผิวหนังระยะเริ่มต้น หลังการรักษาคุณจะไม่เกิดการเจ็บปวดตามมา และกลับบ้านได้ทันทีหลังรับการรักษาเสร็จเรียบร้อย

2. เลเซอร์รักษาความผิดปกติของหลอดเลือด รักษาด้วยเลเซอร์ที่ผลิตแสงซึ่งมีความยาวคลื่นแบบเฉพาะ ที่สามารถขจัดหลอดเลือดที่ผิดปกติได้ โดยไม่สร้างความเสียหายต่อผิวหนังโดยรอบ อีกทั้งเป็นวิธีที่มีความปลอดภัยสูง สามารถใช้รักษาได้แม้กระทั่งในเด็ก เลเซอร์ชนิดนี้จะทำให้หลอดเลือดมีความร้อนสูง และสลายไปอย่างถาวร ใช้รักษาปานแดงที่มีมาแต่กำเนิด รอยแผลเป็นนูน หูด หลอดเลือดฝอยบนใบหน้า ขา และหลอดเลือดฝอยที่ขยายตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. เลเซอร์รักษาความผิดปกติของสีผิวและลบรอยสัก สามารถรักษาปานดำ ปานโอตะ ลบรอยสัก กระแดด กระลึก ซึ่งไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีเดิมๆ แต่ด้วยเทคโนโลยีล่าสุดที่ใช้เวลาในการรักษาเพียงไม่กี่นาที โดยการทายาชาก่อนการรักษา และจะใช้ขี้ผึ้งหรือยาปฏิชีวนะชนิดทาหลังการรักษา แผลจะมีสะเก็ดสีน้ำตาลเพียง 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นรอยแผลจะค่อยๆ จางหายไป

4. เลเซอร์กำจัดขน หลุดกรอบการกำจัดขนแบบเดิมๆ เช่นการโกน ถอน แว็กซ์ มาใช้เทคโนโลยีกำจัดขนถาวรด้วยการปล่อยแสงเลเซอร์ที่มีความเข้มข้นสูง ซึ่งจะถูดดูดซึมไว้โดยเม็ดสีที่อยู่ในรากขน แสงจะกระจายตัวในช่วงเวลาเพียงเสี้ยววินาที เพื่อทำลายรากขนหลายๆ จุดในเวลาเดียวกัน เป็นการกำจัดขนในเวลาสั้นๆ แต่ให้ผลในระยะยาว

5. เลเซอร์ลบริ้วรอยแบบไม่มีแผล เป็นการใช้แสงเลเซอร์ IPL ในการรักษา เพื่อไปกระตุ้นหนังแท้สร้างเส้นใยคอลลาเจนใหม่ เพื่อปรับสภาพผิวให้เรียบเนียน ทั้งยังเป็นวิธีที่ไม่เจ็บและไม่มีแผล ตลอดจนทำให้จุดด่างดำบนใบหน้าดูจางลง ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาอย่างน้อย 4-5 ครั้งต่อเนื่องกันเพื่อผลของการรักษา

6. เลเซอร์รักษาแผลหลุมและริ้วรอยเหี่ยวย่น ศูนย์เลเซอร์ผิวหนัง โรงพยาบาลศิริราช ให้การรักษาโดยใช้เลเซอร์ Erbium: YAG และ เลเซอร์ Fractional CO2 เพื่อรักษาแผลหลุมตามขนาดและความรุนแรงของแผลได้ แม้ร่องลึก

7. บริการอื่นๆ นอกจากการรักษาด้วยเลเซอร์แล้ว ที่ศูนย์เลเซอร์ผิวหนัง โรงพยาบาลศิริราช ยังให้บริการด้านศัลยกรรมความงามอื่นๆ อีกด้วยนะคะ อย่างเช่น การฉีดสาร Botulinum Toxin และ Fillers เพื่อลบริ้วรอยเหี่ยวย่น การรักษาหลอดเลือดขอด การปรับสภาพผิวหน้าด้วยกรดผลไม้ การใช้คลื่นความถี่วิทยุในการยกกระชับใบหน้า ลำตัว และลดเซลลูไลท์ การกรอหน้าด้วยเกร็ดอัญมณี และการใช้เครื่องผลักยาเข้าสู่ผิวหน้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโดยทีมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ

ใครสนใจเข้ารับการรักษาแบบเห็นผล ปลอดภัย สบายกระเป๋า ก็สามารถโทรศัพท์ไปสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือนัดหมายได้ที่ 0-2419-9922 , 0-2419-9933 หรือคลิก ที่ www.sirirajskinlaser.com วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-15.00 น. (ในเวลาราชการ) 16.30-20.00 น. (นอกเวลาราชการ) และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-12.00 น.(นอกเวลาราชการ)

สวยใสก่อนเป็นเจ้าสาว ที่ศูนย์เลเซอร์ผิวหนังศิริราช Siriraj Skin Laser
http://www.theweddinghome.com/Wedding_ShareDetail.asp?Code=A53-0034

เลเซอร์ รักษาแผลเป็น หลุมสิว : Fraxel laser ,Fine Scan Laser และ ...
www.doctorcosmetics.com/articles.php?cat_id=499
CARD รับส่วนลดการรักษา สิว ฝ้า กระ เลเซอร์ ศัลยกรรมตกแต่ง และ ... โรงพยาบาลยันฮี ศูนย์ผิวหนัง และ ศัลยกรรมความงามครบวงจร. วงศ์ษฎา .... หัวหน้าศูนย์เลเซอร์ผิวหนังศิริราช ...

Thursday, September 22, 2011

โรคเส้นเลือดในสมองแตก Brain Stroke

โรคเส้นเลือดในสมองแตก Brain Stroke
โรคเส้นเลือดในสมองแตก | Thailand Travel Health
www.thaitravelhealth.com/blog/โรคเส้นเลือดในสมองแตก/
เส้นเลือดในสมองแตก คืออาการที่หลอดเลือดในสมองฉีกขาด จึงทำให้เลือดออกในสมอง ซึ่งส่งผลให้เสียชีวิตได้ ซึ่งสาเหตุเกิดจากความดันโลหิตสูง. โรคเส้นเลือดในสมองแตก Brain Stroke

โรคเส้นเลือดในสมองแตก Brain Stroke เส้นเลือดในสมองแตก คืออาการที่หลอดเลือดในสมองฉีกขาด จึงทำให้เลือดออกในสมอง ซึ่งส่งผลให้เสียชีวิตได้ ซึ่งสาเหตุเกิดจากความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นความผิดปกติของเส้นเลือด ที่ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดไปยังไต และอวัยวะทั่วร่างกาย ซึ่งผนังหลอดเลือดขยายตัวหนาขึ้นทำให้หลอดเลือดมีขนาดแคบลง จึงทำให้ปริมาณเลือดที่ลำเลียงไปที่ไตมีน้อยลงและทำให้ส่วนประกอบที่อยู่ในไตที่เรียกว่า เร็นนิน เกิดการเพิ่มความดันในเลือดให้สูงขึ้น ทางการแพทย์เรียกโรคนี้ว่า โรคความดันโลหิตสูงจากหลอดเลือดไต



โรคนี้ผู้หญิง อายุตั้งแต่ 20-30ปี ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคนี้ 5-10 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตก คุณช่วงนี้

- มีอาการปวดหัวในตอนเช้าบ้างหรือไม่
- เคยรู้สึกว่าแขนไม่มีแรงบ้างหรือไม่
- เคยรู้สึกตาพร่ามัวบ้างหรือไม่

หากปล่อยทิ้งไว้แบบนี้ คุณอาจจะเป็นผู้โชคร้ายคนต่อไปก็ได้

โรคเส้นเลือดในสมองแตก Brain Stroke
http://www.thaitravelhealth.com/blog/โรคเส้นเลือดในสมองแตก/

โรคหลอดเลือดในสมอง ตีบ แตก ตัน
http://www.krubanchang.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538690105&Ntype=6
ชาญพงศ์ ตังคณะกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาท และสมอง ศูนย์สมองและระบบประสาทกรุงเทพ กล่าวถึงสาเหตุของโรคว่า โรคหลอดเลือดในสมอง ตีบ แตก ตัน นั้น ... โรคเส้นเลือดในสมองแตก Brain Stroke

Tuesday, September 20, 2011

วิธีแก้ ผู้ชายหลั่งเร็ว เทคนิคบนเตียง Sex

วิธีแก้ ผู้ชายหลั่งเร็ว เทคนิคบนเตียง Sex
วิธีแก้ ผู้ชายหลั่งเร็ว เทคนิคบนเตียง กล่าวกันว่า ปัญหาการหลั่งเร็ว ( Premature ejaculation) ของชายชาตรีนั้น อยู่คู่กับโลกใบนี้มาเนิ่นนาน และยังเกิดขึ้นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เป็นปัญหาคลาสสิกที่ทำลาย ความเชื่อมั่นของหนุ่มทุกคนรองจากปัญหาการไม่แข็งตัว

เชื่อกันว่า มีผู้ชายทั่วโลกถึง 70 % ที่ต้องวิ่งโร่ร้อง “ช่วยด้วยคุณหมอ ผมหลั่งเร็วครับ” จดหมายนับพันและโทรศัพท์อีกนับร้อยของหนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่ส่งมาถึงผม ย่อมแสดงให้เห็นว่า การหลั่งเร็วเป็นความอัปยศอดสูชนิดลึกสุดใจของ พวกเขาเลยทีเดียว ปัญหาที่ไถ่ถามต่อมาอีกก็คือ อาการหลั่งเร็วที่ว่านี้รักษาให้หายขาดได้หรือเปล่า ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกับคุณผู้ชายก่อนว่า

แค่ไหนถึงเรียกว่า หลั่งเร็ว คำนิยามของอาการหลั่งเร็วที่ได้รับการยอมรับกันมากที่สุดนั้นเป็นคำนิยาม ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน ซึ่งมีเกณฑ์วินิจฉัยอยู่ 3 ข้อ คือ...

1. การหลั่งน้ำอสุจิหลังจากมีการกระตุ้นทางเพศเพียง เล็กน้อย อาจเกิดขึ้นก่อน ที่จะมีการสอดใส่ ขณะสอดใส่ หรือเป็นเวลาสั้นๆเพียง 2นาทีหลังจากสอดใส่

2. มีอาการที่ไม่ได้เกิดจากยาหรือสารเคมีบางชนิด

3. ก่อให้เกิดปัญหาระหว่างคู่สมรสหรือคู่นอน

สาเหตุ ของการหลั่งเร็วนั้นยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แต่เชื่อกันว่า เป็นได้ทั้ง จากปัญหาทางจิตใจและโรคทางกายที่เกี่ยวกับระบบประสาท ในรายที่อายุยังน้อยมัก จะเกิดจากความวิตกกังวล ความกลัวต่อการตั้งครรภ์ การประหม่าหรือตื่นเต้น ซึ่งเมื่อได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ทางเพศและเรียนรู้วิธีการยืดระยะเวลาก็จะ ปรับตัว จนหลั่งได้เป็นปกติไปเอง

แต่สำหรับบางคนที่ไม่ได้รับการ แก้ไขนั้นจะยิ่งมีความกังวล ที่ต่อเนื่องจนเกิดความเครียดและเป็นปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างคู่รักติดตามมา ส่วนสาเหตุทางกายนั้นอาจเป็นผลมาจากความบกพร่องในการแข็งตัวขององคชาต ทำให้หลั่งน้ำอสุจิเร็วเนื่องจากกลัวว่าองคชาตจะอ่อนตัวก่อนที่จะถึงจุดสุด ยอด ในบางราย ก็พบว่า เกิดจากความไวต่อการสัมผัสที่ผิวหนังขององคชาติ

แต่นักเพศบำบัดหลายคนเชื่อว่า น่าจะมีสาเหตุของประสบการณ์ร่วมด้วยเช่น บางคนเคยชินกับการช่วยตัวเองแบบเร่งรีบหรือมีเซ็กซ์ประเภทรถด่วน พอลงสังเวียนรัก นกเขาก็หมอบกลายเป็นนกกระจอกไม่ทันกินน้ำ เรื่องเพศสัมพันธ์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ต้องมีการเรียนรู้และฝึกฝนจนแก่กล้า ที่สำคัญนั้น คุณต้องไม่อายต่อสาวคนรัก เรื่องนี้บางครั้งต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ จากเธอด้วย ให้เธอเข้าใจว่า คุณกำลังประสบปัญหาสุขภาพทางเพศอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม

การรักษา อาการหลั่งเร็วจากแพทย์นั้นเพื่อให้คนไข้มีความอดทนในการหลั่ง หรือพยายามที่จะลดความรู้สึกที่ไวต่อสิ่งเร้า เริ่มที่การซักประวัติของคุณในด้านต่างๆ เช่น สภาพจิตใจ การแต่งงาน การมีเพศสัมพันธ์ การใช้ยา การสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า โดยอาจจะ ซักถามภรรยาด้วยเพื่อจะได้ทราบถึงระดับความรุนแรงของปัญหาในชีวิตคู่ จากนั้น จะทดสอบความรู้สึกรับสัมผัสที่ผิวหนังบริเวณส่วนนั้น แต่การรักษานั้น คุณก็สามารถกระทำด้วยตัวเองได้ โดยจะต้องมีการฝึกฝน ตนเองอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับอาศัยความอดทน จนเกิดความเคยชินแล้วก็จะหลั่งช้า จนเป็นปกติในที่สุด

ยุทธวิธีชะลอการหลั่งที่ปรมาจารย์ด้านเพศหลายสำนักได้ บัญญัติไว้มีดังนี้ครับ

1. การขมิบก้น หรือการบริหารกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณอุ้งเชิงกราน คือ รอบๆทวารหนักนั่นเอง คล้ายๆกับเวลาอยากถ่ายอุจจาระแล้วอั้นไว้โดยนับ 1-10ในใจ ช้าๆแล้วค่อยๆคลายออก นับเป็น 1ชุด ทำอย่างนี้วันละ 10-15ครั้ง การฝึกแบบนี้ใน ระยะแรกจะรู้สึกยากลำบากสักหน่อย ก็อย่าไปวิตก ทำได้แค่ไหนก็แค่นั้น หมั่นฝึกจนกว่า จะบังคับได้ ให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นหดรัดตัวเวลาที่มีกิจกรรมทางเพศ ไม่ว่าจะช่วยตัวเอง หรือมีเพศสัมพันธ์ พอรู้สึกว่าจะหลั่งก็สั่งกล้ามเนื้อชุดนี้ให้หดตัวไปบีบรัดท่อปัสสาวะ สกัดไม่ให้น้ำอสุจิหลั่งออกมา วิธีนี้ถือเป็นศิลปะขั้นสูงเลยทีเดียว

2. Start and Stop Technique หรือเทคนิคบีบและคลาย วิธีการก็คือ ให้ช่วยตัวเองด้วยมือข้างที่ถนัด เมื่อใกล้ที่จะหลั่งก็ให้เอานิ้วหัวมือมือและนิ้วชี้บีบรัด ตรงคอขอดส่วนหัวองคชาตหรือที่เอ็นสองสลึง บีบแรงๆรอจนไม่มีความรู้สึกที่จะหลั่งออกมา

วิธีแก้ ผู้ชายหลั่งเร็ว เทคนิคบนเตียง
http://sex.sanook.com/sex/technique/tech_44409.php

Sunday, September 18, 2011

โรคลูปัส โรคพุ่มพวง โรงพยาบาลรามาธิบดี (Systemic Lupus Erythematosus : SLE)

โรคลูปัส โรคพุ่มพวง โรงพยาบาลรามาธิบดี (Systemic Lupus Erythematosus : SLE)
โรคลูปัส โรคพุ่มพวง โรงพยาบาลรามาธิบดี (Systemic Lupus Erythematosus : SLE) โรค SLE หรือ โรคลูปัส หมายถึงโรคที่มีการอักเสบของอวัยวะต่าง ๆ เนื่องมาจากภูมิคุ้มกันของตัวเองมากเกินปกติ ทำให้เกิดอาการและอาการแสดงเกือบทุกระบบของร่างกาย โรคจะกำเริบและทุเลาสลับกัน ในปัจจุบันโรคนี้ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมอาการของโรคให้สงบ และดำเนินชีวิตได้ตามปกติหากรักษาได้ทันท่วงที

โรคลูปัส โรคพุ่มพวง (SLE) สาเหตุ
สาเหตุที่แท้จริงนั้นยังไม่ทราบแน่นอน เชื่อว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งเสริมให้เกิดโรคได้ดังนี้

1. พันธุกรรม พบว่าในแฝดจากไข่ใบเดียวกันมีโอกาสเกิดโรคนี้ถึงร้อยละ 30-50 และร้อยละ 7-12 ของ ผู้ป่วย SLE เป็นญาติพี่น้องกัน เช่น แม่และลูกสาว หรือในหมู่พี่น้องผู้หญิงด้วยกัน
2. ติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย แต่จนถึงปัจจุบัน ยังไม่สามารถค้นพบเชื้อแบคทีเรียและไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ได้
3. ฮอร์โมนเพศโดยเฉพาะเอสโตรเจน โรคที่พบมากในสตรีวัยเจริญพันธุ์ บ่งชี้ว่าน่าจะมีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนเพศ นอกจากนี้ความรุนแรงของโรคยังแปรเปลี่ยนตามการมีครรภ์ ประจำเดือน และการใช้ยาคุมกำเนิด
4. แสงแดดและสารเคมี ยาบางอย่างเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรม โรคแสดงอาการของโรคนี้ได้

โรคลูปัส โรคพุ่มพวง (SLE) อาการและอาการแสดง
อาการทั่วไป พบอาการไข้ ร้อยละ 40-85 มักจะเป็นไข้ต่ำ ๆ และหาสาเหตุไม่ได้ นอกจากนี้จะมี

- อาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด เป็นอาการที่พบได้บ่อยในขณะโรคกำเริบ

- อาการทางผิวหนังและเยื่อบุช่องปาก ในระยะเฉียบพลันที่พบได้บ่อยที่สุด คือ ผื่นรูปปีกผีเสื้อ ลักษณะเป็นผื่นบวมแดงนูนบริเวณโหนกแก้มและสันจมูก ผื่นจะเป็นมากขึ้นเมื่อถูกแสงแดด อาการทางผิวหนังอีกอย่างหนึ่งของโรคนี้คือ ปลายเท้าซีดเขียวเมื่อถูกน้ำหรืออากาศเย็น นอกจากนี้อาจพบผมร่วง และแผลในปากได้

- อาการทางข้อและกล้ามเนื้อ เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด ส่วนใหญ่เป็นอาการปวดข้อมากกว่าลักษณะข้ออักเสบ มักเป็นบริเวณข้อเล็ก ๆ ของนิ้วมือ ข้อมือ ข้อไหล่ ข้อเท้า หรือข้อเข่า เป็นเหมือนๆ กันทั้ง 2 ข้าง ร้อยละ 17-45 พบอาการปวดกล้ามเนื้อ

- อาการทางไต ผู้ป่วยบางรายมาพบแพทย์ด้วยอาการทางไตเป็นอาการนำ อาการแสดงที่สำคัญของไตอักเสบจากลูปัส ได้แก่ บวม ปัสสาวะเป็นฟองตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ ความดันโลหิตสูง

- อาการทางระบบเลือด อาการที่พบได้แก่ อ่อนเพลียหน้ามืดจากภาวะซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ ทำให้ ติดเชื้อได้ง่าย และเกร็ดเลือดต่ำ อาจพบจุดจ้ำเลือดออกตามตัวได้

- อาการทางระบบประสาท อาการที่พบได้ คือ อาการชักและอาการทางจิตนอกจากนี้อาจมีอาการปวดศรีษะรุนแรง หรือมีอ่อนแรงของแขนขา อาจพบได้ในระยะที่โรคกำเริบ

- อาการทางปอดและเยื่อหุ้มปอด อาการที่พบบ่อยคือ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ อาการแสดงคือเจ็บหน้าอกโดยเฉพาะเวลาหายใจเข้าสุด ตรวจพบมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด บางรายมีอาการปอดอักเสบซึ่งต้องแยกจากปอดอักเสบติดเชื้อ

- อาการทางระบบหัวใจและหลอดเลือด ที่พบบ่อยคือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ซึ่งมักพบร่วมกับเยื่อหุ้มปอดอักเสบ ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการ เจ็บหน้าอก มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ เหนื่อยง่าย โรคหลอดเลือดหัวใจส่วนใหญ่เป็นผลมาจากภาวะหลอดเลือดแข็งจากการได้รับยาสเตียรอยด์นาน ๆ นอกจากนี้ภาวะความดันโลหิตสูง ก็เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยจากไตอักเสบเรื้อรัง และจากการ ได้รับยาสเตียรอยด์

- อาการทางระบบทางเดินอาหาร ไม่มีอาการที่จำเพาะสำหรับโรคลูปัส อาการที่พบบ่อย ได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้อง ซึ่งเป็นผลจากการใช้ยารักษาโรคลูปัส เช่น NSAIDS ยาสเตียรอยด์ อาการยังคงอยู่ได้แม้จะหยุดยาไปเป็นสัปดาห์

โรคลูปัส โรคพุ่มพวง (SLE) การตรวจเพื่อช่วยในการวินิจฉัย

- การตรวจนับเม็ดเลือด
- การตรวจเลือดหาปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันต่าง ๆ เช่น การตรวจ coomb test , ANA, anti-dsDNA
- การตรวจปัสสาวะและ การตรวจปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง ช่วยบอกชนิด และความรุนแรงของภาวะอักเสบที่ไตได้
- การตัดชิ้นเนื้อไตเพื่อตรวจ ทำให้จำแนกการกำเริบและความเรื้อรังของโรคได้ดีขึ้น แต่ต้องอาศัยแพทย์ผู้ชำนาญ

โรคลูปัส โรคพุ่มพวง (SLE) การรักษาพยาบาล

เมื่อไหร่จึงจะให้การรักษา ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น หรืออาจเป็นโรคลูปัส ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาเสมอไป โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการเพียงเล็กน้อย ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาแบบประคับประคองอาการ แต่ควร ติดตามการดำเนินของโรคเป็นระยะๆ ประมาณปีละ 1-2 ครั้ง เมื่อมีความผิดปกติของการทำงานของอวัยวะระบบใดระบบหนึ่ง จึงจะได้รับการรักษาที่จำเพาะ

โรคลูปัส โรคพุ่มพวง (SLE) การรักษา

ยังไม่มีวิธีรักษาใดที่ทำให้หายขาดได้ แต่การปฏิบัติตัวที่ดี การเลือกใช้ยาที่ถูกต้องทั้งชนิด ขนาด และช่วงเวลาที่เหมาะสม จะสามารถควบคุมอาการของโรคนี้ได้การรักษาด้วยยายากลุ่มNSAIDS และยาต้านมาลาเรีย (คลอโรควีนและไฮดรอกซีคลอโรควีน) ในผู้ป่วยที่มีอาการเล็กๆน้อยๆ ที่ไม่มีปัญหาต่อการดำเนินชีวิตประจำวันมากนัก เช่นผู้ป่วยที่มีอาการอย่างโรคตามทางผิวหนัง มีผื่นที่หน้า ปวดข้อและปวดกล้ามเนื้อ โดยที่ผลการตรวจทางปัสสาวะปกติ อย่างไรก็ตามในกรณียาเหล่านี้ควบคุมอาการไม่ได้ อาจให้ยาสเตียรอยด์ในขนาดต่ำๆ (prednisolone<10มก. /วัน) ร่วมด้วย เมื่อควบคุมโรคได้จึงค่อยลดยาลง

ยาสเตียรอยด์ เช่น prednisolone เป็นยาหลักที่ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบของอวัยวะสำคัญต่างๆจากโรคลูปัส แพทย์จะปรับขนาดของยาตามอาการและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ถ้าไม่ได้ผลอาจต้องให้ยากดระบบภูมิคุ้มกันอื่น ๆ ร่วมด้วย

โรคลูปัส โรคพุ่มพวง (SLE) อาการข้างเคียงของยาที่ใช้

1. NSAIDS ทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหาร บางรายเกิดแผลในทางเดินอาหาร ทำให้ถ่ายเป็นเลือดได้ ยาสเตียรอยด์ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น จากการคั่งของเกลือและน้ำ และจากการรับประทานอาหารได้มากขึ้น

2. prednisolone ถ้าได้รับยาในขนาดสูง ๆ ต้องระวังปัญหาจากการติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ นอกจากนี้อาจมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนไม่หลับ ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง กล้ามเนื้ออ่อนแรง และถ้าได้รับยาเป็นเวลานาน ๆ อาจเกิดภาวะกระดูกพรุนและกระดูกหักง่าย ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ความรู้สึกทางเพศลดลง มีสิวขึ้น ปวดข้อที่เกิดจากหัวกระดูกขาดเลือด และเกิดลักษณะของกลุ่มอาการคุชชิ่ง ได้แก่ หน้ากลม ไหล่และคออูม ลำตัวอ้วน

3. ยาต้านมาลาเรีย ( คลอโรควีนและไฮดรอกซีคลอโรควีน) อาจมีอาการตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน กลัวแสงหรือตาบอดสีหรือทำให้เลือดออกในจอตา ผู้ป่วยที่ใช้ยาเหล่านี้ต้องตรวจตาอย่างละเอียดโดยจักษุแพทย์ทุก 6 เดือน นอกจากนี้อาจพบอาการเบื่ออาหาร ท้องเสียหรืออาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้

4. ยากดภูมิคุ้มกัน (เช่น Cyclophosphomide, azathioprine) อาจกดไขกระดูก ทำให้เม็ดเลือดขาวต่ำ เกร็ดเลือดต่ำและซีดได้ นอกจากนี้ทำให้มีคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กดการทำงานของรังไข่ทำให้มีประจำเดือนผิดปกติ และมีบุตรยากได้ การใช้ยาเหล่านี้เป็นระยะเวลานาน (ติดต่อกันเกิน 2 ปี) จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อโรคมะเร็งได้มากกว่าคนทั่วไป

โรคลูปัส โรคพุ่มพวง (SLE) การปฏิบัติตัวในการควบคุมโรค

1. หลีกเลี่ยงการติดเชื้อ ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายโดยเฉพาะบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ ช่องปาก
2. หลีกเลี่ยงแสงแดดและแสงไฟนีออนเนื่องจากทำให้โรคกำเริบได้ ใช้ครีมกันแดดเป็นประจำทุกเช้าโดยซื้อครีมกันแดดที่ป้องกันทั้ง UVA และ UVB ที่มี SPF 15 ขึ้นไป และพยายามหลีกเลี่ยงการออกแดดโดยตรงในกรณีที่จำเป็นต้องใส่เสื้อแขนยาว และสวมหมวกรวมทั้งใช้ครีมกันแดดที่แรงขึ้น
3. รับประทานอาหารปรุงสุกผ่านความร้อนใหม่ ๆ งดอาหารหมักดอง หลีกเลี่ยงการรับประทาน ขนมจีน ผักสด และส้มตำตามร้านค้าทั่วไปในผู้ป่วยที่มีอาการทางไตร่วมด้วย ควรรับประทานอาหารจำกัดเกลือ
4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และบริหารข้อเพื่อป้องกันการเกิดข้อพิการ (ยกเว้นขณะมีข้ออักเสบ )
5. หลีกเลี่ยงภาวะเครียดเนื่องจากอาจทำให้โรคกำเริบได้
6. เมื่อเจ็บป่วยไม่ซื้อยามากินเอง ควรไปพบแพทย์ที่รักษา
7. ไม่ควรเปลี่ยนแพทย์หรือสถานรักษาด้วยตนเอง เพราะจะทำให้แผนการรักษาขาดความต่อเนื่อง
8. ไม่ควรปล่อยให้ตั้งครรภ์ในระยะที่โรคกำเริบหรือใช้ยาขนาดสูง
9. ควรมาพบแพทย์เมื่อมีอาการแสดงว่าโรคกำเริบ เช่น ไข้ ข้ออักเสบมากขึ้น มีจ้ำเลือดตามตัว บวมขึ้น เหนื่อยขึ้น เจ็บแน่นหน้าอก

อ้างอิง
- สมจิต หนุเจริญกุล. (2536). การพยาบาลทางอายุรศาสตร์ เล่ม 3. พิมพ์ครั้งที่ 3.บริษัทวีเอสพริ้นติ้งจำกัด : กรุงเทพ ฯ.
- สุชีลา จันทร์วิทยานุชิต. (2538). ตำราโรคข้อ. พิมพ์ครั้งที่ 1.โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์ :กรุงเทพฯ.

ตรวจทานโดยอาจารย์บุญจริง ศิริไพฑูรย์ วันที่ 19 สิงหาคม 2546
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=3e72af93ed8765d5&pli=1
http://www.thiswomen.com/Health/id4048.aspx

Thursday, September 15, 2011

โรคไต โรงพยาบาลวิภาวดี Vibhavadi Hospital Kidney

โรคไต โรงพยาบาลวิภาวดี Vibhavadi Hospital Kidney โรคไต โรงพยาบาลวิภาวดี Vibhavadi Hospital Kidney
โรคไต โรงพยาบาลวิภาวดี Vibhavadi Hospital Kidney ไต เป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย อยู่บริเวณเอว 2 ข้าง ควบคุมความดันโลหิต เมื่อไตเสื่อมหน้าที่ลง ของเสียจะคั่งในร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอาการซีด เกิดภาวะเลือดเป็นกรด มีน้ำคั่งในร่างกายและในปอด จะมีอาการหอบเหนื่อย ซึมลง และอาจเสียชีวิตได้

ไต มีหน้าที่ ขับถ่ายของเสีย ซึ่งเกิดจากอาหารพวกโปรตีน สารพิษ และยาต่างๆ รักษาสมดุลน้ำ เกลือแร่ กรดด่าง นอกจากนี้ยังสร้างฮอร์โมน ที่กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง และสร้างกระดูก

การรักษา โรคไต
โดยการบำบัดทดแทนไต จะช่วยยืดชีวิตผู้ป่วย หรือประคับประคอง จนไตกลับมาทำหน้าที่ใหม่ หรือรอการปลูกถ่ายไต

สาเหตุ โรคไต
ที่ทำให้ไตค่อยๆ เสื่อมหน้าที่อย่างถาวร ที่พบบ่อยคือ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไตอักเสบเรื้อรัง โรคนิ่วในไต โรคถุงน้ำในไต และโรคไตพิการแต่กำเนิด

การป้องกัน โรคไต
โดยการควบคุมความดันโลหิตให้ดี ควบคุมระดับน้ำตาล ลดอาหารเค็ม ลดอาหารจำพวกโปรตีนและไขมัน ในผู้ป่วยวิกฤติ ที่มีการติดเชื้อรุนแรง ได้รับอุบัติเหตุ การรับประทานยาบางชนิด โดยเฉพาะยาแก้ปวด หรือสารพิษบางอย่าง จะทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน ซึ่งรุนแรงมาก อัตราเสียชีวิตสูง จำเป็นต้องรักษาโดยวิธีบำบัดทดแทนไต เพื่อรอให้ไตฟื้น ทำหน้าที่ได้เหมือนเดิม

ศูนย์โรคไต โรงพยาบาลวิภาวดี

มีทีมแพทย์ พยาบาล ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลป้องกันไม่ให้ไตเสื่อมหน้าที่ และในกรณีที่ไตทำงานน้อยกว่าร้อยละ 15 เรามีบริการบำบัดทดแทนไต และบริการฟอกเลือด ดังต่อไปนี้

1. การรักษา โดยการฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียมตามมาตรฐานแพทยสภา ให้บริการตั้งแต่เวลา 0.600-19.00 น. ทุกวันเว้นวันอาทิตย์
2. การรักษา โดยวิธีล้างช่องท้องถาวร (CAPD) โดยการใส่ท่อถาวรเข้าช่องท้อง และฝึกให้ผู้ป่วย ญาติ สามารถนำไปปฏิบัติเองได้ ที่บ้าน
3. ในผู้ป่วยวิกฤติ มีบริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และการล้างช่องท้องตลอด 24 ชั่วโมง
4. ให้บริการเปลี่ยนถ่ายน้ำเหลือง (PLASMAPHERESIS) ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเลือด โรคภูมิต้านทานผิดปกติ หรือมีโปรตีนที่ผิดปกติในเลือด
5. บริการฟอกเลือด ขจัดสารพิษ สารเคมี และยาเกินขนาดโดยวิธี HEMOPERFUSION

ติดต่อนัดหมายแพทย์ 0-2941-2800 กด1 07.00-20.00 น.ทุกวัน

โรคไต โรงพยาบาลวิภาวดี Vibhavadi Hospital Kidney
http://www.vibhavadi.com/web/health_detail.php?id=110

Monday, September 12, 2011

ทำความรู้จักกับ ธาลัสซีเมีย ก่อนวางแผนการตั้งครรภ์ Thalassemia

ทำความรู้จักกับ ธาลัสซีเมีย ก่อนวางแผนการตั้งครรภ์ Thalassemia ทำความรู้จักกับ ธาลัสซีเมีย ก่อนวางแผนการตั้งครรภ์ Thalassemia
โรคธาลัสซีเมียนั้นเป็นโรคโลหิตจางชนิดหนึ่งที่เป็นกรรมพันธุ์ โดยผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีความผิดปกติในการสร้างสารฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงมีลักษณะผิดปกติและแตกง่าย ก่อให้เกิดอาการซีด เลือดจาง

ธาลัสซีเมียมีหลายชนิด และมีความรุนแรงแตกต่างกัน ตั้งแต่รุนแรงมากที่สุดถึงไม่มีอาการเลย ดังนี้คือ

พวกแอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย
แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 1 กับ แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 1 เรียกว่า ฮีโมโกลบินบาร์ทไฮดรอพส์ ฟิทัลสลิส รุนแรงที่สุด
แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 1 กับ แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 2 เรียกว่า ฮีโมโกลบินเอ็ช รุนแรงน้อย
แอลฟ่า -ธาลัสซีเมีย 1 กับ ฮีโมโกลบินคอนสแตนท์สปริง เรียกว่า ฮีโมโกลบินเอ็ชคอนสแตนท์สปริง รุนแรงน้อย
ฮีโมโกลบินคอนสแตน์สปริง กับ ฮีโมโกลบินคอนสแตนท์ สปริง เรียกว่า โฮโมซัยกัสคอนสแตนท์สปริง อาการน้อยมาก
แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 2 กับ แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 2 เรียกว่า โฮโมซัยกัส ไม่มีอาการ

พวกเบต้า-ธาลัสซีเมีย
เบต้า-ธาลัสซีเมีย กับ เบต้า-ธาลัสซีเมีย เรียกว่า โฮโมซัยกัส
เบต้าธาลัสซีเมีย กับ เบต้า-ธาลัสซีเมียเมเจอร์ รุนแรงมาก
เบต้า-ธาลัสซีเมีย กับ ฮีโมโกลบินอี เรียกว่า เบต้า-ธาลัสซี เมีย/ฮีโมโกลบินอี อาการรุนแรงปานกลาง
ฮีโมโกลบินอี กับฮีโมโกลบินอี เรียกว่า โฮโมซัสกัส ฮีโมโกลบินอี อาการน้อยมาก (บุตรของคุณศุภมิตร)

โฮโมซัสกัส ฮีโมโกลบินอี
บางรายมีอาการน้อยมากจนไม่ต้องให้การรักษาอย่างใดเป็นพิเศษ บางรายมีภาวะซีดมากต้องรับการรักษาจากแพทย์ติดต่อกันเป็นประจำ อาการทั่วไปผู้ป่วยจะมีภาวะซีด มีอาการเหนื่อยง่ายเนื่องจากเม็ดเลือดแดงน้อยจึงนำพาออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ได้น้อย แต่ไม่ต้องรับประทานธาตุเหล็กเพราะมีธาตุเหล็กเกินอยู่แล้วเพียงแต่นำไปใช้สร้างเม็ดเลือดไม่ได้ แพทย์จึงให้โฟลิคเสริมเพื่อช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง พวกนี้สามารถใช้ชีวิตเหมือนคนปกติ อาจมีตับม้ามโต กระดูกบางเปราะหักง่าย ร่างกายแคระแกร็น เจริญเติบโตไม่สมอายุ แต่ในรายที่ซีดมากก็จำเป็นต้องให้เลือดแต่ถ้าให้เลือดบ่อยๆอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือธาตุเหล็กเกิน ไปสะสมในอวัยวะต่างๆ มีผลให้ผิวคล้ำ เป็นตับแข็ง เบาหวาน หัวใจล้มเหลว เป็นต้น

การรักษาได้แก่

1. การดูแลรักษาสุขภาพทั่วไป ควรมีสุขอนามัยที่ดี สะอาด
การปฏิบัติตัว - ออกกำลังกายเท่าที่จะทำได้ ไม่เหนื่อยเกินไป เนื่องจากมีกระดูกเปราะหักง่าย ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ผาดโผน ไม่สูบบุหรี่เพราะมีอาการซีดอยู่แล้ว ร่างกายจะขาดออกซิเจนมากขึ้น ไม่ควรดื่มเหล้าเพราะผลเสียต่อตับ ซึ่งมีธาตุเหล็กไปสะสม มีปัญหาอยู่แล้ว
อาหาร - คนที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย เม็ดเลือดแดงแตกเร็ว ร่างกายพยายามสร้างเม็ดเลือดแดงใหม่ขึ้นมาแทน สร้างมากและสร้างเร็ว กว่าคนปกติหลายเท่า ฉะนั้นควรรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ นม และอาหารที่มีวิตามินที่เรียกว่า "โฟเลท" อยู่มาก ได้แก่ ผักสดต่างๆ สารอาหารเหล่านี้ จะถูกนำไปสร้างเม็ดเลือดแดงได้ อาหารที่ควรละเว้นคือ อาหารที่มีธาตุเหล็กสูงมากเป็นพิเศษ ได้แก่ เลือดสัตว์ต่างๆ เช่น เลือดหมู เลือดเป็ด เลือดไก่ สำหรับเครื่องดื่มประเภทน้ำชา น้ำเต้าหู้ จะช่วยลดการดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหารได้บ้าง
ยา - ไม่ควรซื้อยาบำรุงโลหิตกินเอง เพราะอาจเป็นยาที่มีธาตุเหล็กซึ่งใช้สำหรับรักษาคนที่ขาดธาตุเหล็ก ไม่ใช่สำหรับโรคธาลัสซีเมียที่มีเหล็กเกินอยู่แล้ว ควรรับประทานยา วิตามินโฟเลท (Folate) อาจช่วยเสริมให้มีการสร้างเม็ดเลือดแดงได้ดีขึ้นบ้าง

2. การให้เลือด มี 2 แบบคือ
1. การให้เลือดแบบประคับประคอง (low transfusion) เพิ่มระดับฮีโมโกลบินขึ้นให้สูงกว่า 6-7 กรัม/เดซิลิตร หรือระดับฮีมาโตคริต สูงกว่า 20% พอให้ผู้ป่วยหายจากอาการอ่อนเพลีย เหนื่อย มึนงง จากอาการขาดออกซิเจน เป็นการให้เป็นครั้งคราว ตามความจำเป็น

2. การให้เลือดจนหายซีด (high transfusion) เพิ่มระดับฮีโมโกลบินให้สูงใกล้เคียงคนปกติ อาจต้องให้เลือดทุกสัปดาห์ 2-3 ครั้ง จนระดับฮีโมโกลบินก่อนให้เลือดอยู่ในเกณฑ์ 10 กรัม/เดซิลิตร เสียก่อน (ฮีมาโตคริต 30% ต่อจากนั้นให้เลือดอย่างสม่ำเสมอทุก 2.5-3 สัปดาห์ตลอดไป โดยจะทำให้ค่าเฉลี่ยของฮีโมโกลบินของผู้ป่วยสูงขึ้น ได้ประมาณ 12 กรัม/เดซิลิตร (ฮีมาโตคริต 36%) วิธีนี้ส่วนมากจะให้แก่ผู้ป่วย ที่เป็นโรคชนิดที่รุนแรง และมักจะให้ผู้ป่วยอายุน้อย ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ลักษณะกระดูกหน้า และม้ามยังไม่โต ผู้ป่วยจะแข็งแรงเหมือนเด็กปกติไม่เหนื่อย และจะป้องกันมิให้ใบหน้าเปลี่ยน ม้ามจะไม่โต และการเจริญเติบโตจะปกติ ข้อเสีย ของการให้เลือดวิธีนี้คือ ต้องมารับเลือดอย่างสม่ำเสมอ และจะมีปัญหาแทรกซ้อน ของการให้เลือดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีภาวะเหล็กเกินตามมา

ปัญหาแทรกซ้อนของการให้เลือดมีหลายประการได้แก่

ก. การติดเชื้อจากการให้เลือด ได้แก่ ตับอักเสบ เอดส์ (AIDS) มาลาเรีย เป็นต้น แม้ว่าธนาคารเลือดจะได้ซักประวัติ และตรวจเลือด คัดเอาผู้ที่สงสัย หรือมีโรคดังกล่าวออกไปได้เกือบทั้งหมดแล้วก็ตาม

ข. การแพ้เลือด ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง มีผื่นคัน ภายหลังการได้รับเลือด เกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายต่อเซลล์เม็ดเลือดขาว ลิมโฟไซท์ ซึ่งแพทย์มักให้ยาแก้แพ้รับประทานป้องกันอาการไว้ก่อน ที่จะให้เลือด และปัจจุบันสามารถป้องกันปฏิกิริยานี้ ได้โดยใช้ชุดกรองเลือด เป็นพิเศษ กรองเม็ดเลือดขาวออกจากถุงเลือดที่ให้ผู้ป่วย แต่เครื่องนี้ ราคาแพงประมาณชุดละ 600-900 บาท และใช้ได้เพียงครั้งเดียว ในผู้ป่วยให้เลือดทั่วไป ไม่จำเป็นต้องใช้ แต่ควรใช้และจะมีประโยชน์มาก ในรายที่เตรียมผู้ป่วยสำหรับการปลูกถ่ายไขกระดูก เพราะจะช่วยป้องกัน การเกิดปฏิกิริยาต่อต้านเม็ดเลือดของผู้ให้ไขกระดูกได้

ค. ภาวะความดันโลหิตสูง หลังจากให้เลือด พบได้ประปราย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัว อาเจียน หากรุนแรงมากอาจมีเลือดออกในสมอง ผู้ป่วยซึมลงหรือชักเป็นอันตรายมากได้ ฉะนั้นแพทย์จึงต้อง วัดความดันโลหิตให้ผู้ป่วยก่อนและหลังการให้เลือด และให้ยาขับปัสสาวะ ก่อนให้เลือด ซึ่งจะป้องกันภาวะนี้ได้บ้าง ความดันเลือดสูงมักเกิดขณะให้เลือด หรือเมื่อให้เลือดเสร็จแล้วภายใน 1-2 วัน ฉะนั้นหากผู้ป่วยมีอาการดังกล่าว จำเป็นต้องได้รับการตรวจรักษาเป็นการด่วน

ง. ภาวะเหล็กเกิน ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียที่ซีดเรื้อรังจะมีการดูด ซึมธาตุเหล็กจากอาหารเพิ่มมากขึ้น และ-หรือร่วมกันกับธาตุเหล็ก ที่ได้รับจากการให้เลือด เพราะทุก 1 มิลลิลิตรของเม็ดเลือดแดง มีธาตุเหล็ก 1 มิลลิกรัม ธาตุเหล็กที่ได้รับนี้จะตกค้างอยู่ในร่างกายและไปสะสมในอวัยวะต่างๆ ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่กล่าวมาแล้ว ฉะนั้นการรักษาโรคธาลัสซีเมีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในรายที่มีการให้เลือดมากๆ จึงจำเป็นต้อง ให้ยาขับธาตุเหล็กร่วมด้วย

3. การให้ยาขับธาตุเหล็ก
ยาที่ใช้กันตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และแพร่หลายมากที่สุดคือยา Desferal ซึ่งต้องให้โดยวิธีฉีดเท่านั้น เช่น ฉีดเข้าเส้นเลือด ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แต่วิธีที่นิยมคือฉีด เข้าใต้ผิวหนังให้ยาช้าๆ กินเวลานานครั้งละ 10-12 ชั่วโมง โดยใช้เครื่องช่วยให้ยาเรียกว่า Infusion หากมีภาวะเหล็กเกินมาก หรือในรายที่ให้เลือดสม่ำเสมอ ต้องให้ยาขนาด 40-60 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม สัปดาห์ละ 5-6 วัน จึงจะขับธาตุเหล็กออกได้เต็มที่ จนไม่มีเหล็กเกิน ผู้ปกครองหรือผู้ป่วยจะต้องเป็นผู้ฉีดยาเอง นิยมฉีดก่อนนอน และถอดเข็มออกเมื่อตื่นนอนตอนเช้า เหล็กจะถูกขับถ่ายออกจากร่างกาย ทางปัสสาวะและอุจจาระ จะสังเกตได้จากสีปัสสาวะที่เข้มขึ้นมาก ขณะขับธาตุเหล็กต้องมีการติดตามอาการผู้ป่วย และระดับธาตุเหล็กในร่างกาย โดยการตรวจเลือดดูระดับซีรั่มเฟอไรติน (serum ferrin) เป็นระยะๆ ทุก 6 เดือน ถ้าซีรั่มเฟอไรตินอยู่ในระดับ 1000 ไมโครกรัมต่อลิตร หรือต่ำกว่าแสดงว่า ควบคุมระดับธาตุเหล็กได้ดี ปัจจุบันยาขวดละ 500 มิลลิกรัม ราคา 135 บาท ฉะนั้นสำหรับผู้ป่วยน้ำหนักตัว 20 กิโลกรัม จ่ายค่ายาประมาณ 3,000 บาทต่อเดือน ส่วน Infusion pump เดิมราคาเครื่องละ 2-3 หมื่นบาท แต่ต่อไปนี้ผู้ป่วยที่ต้องการใช้เครื่องมือนี้ จะขอซื้อเครื่องมือได้ จากมูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย ในราคาเครื่องละ ประมาณ 4,000 บาท ผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่ได้รับเลือดจนหายซีดอย่างสม่ำเสมอ และได้ยาขับธาตุเหล็ก จนไม่มีภาวะเหล็กเกินจะมีสุขภาพแข็งแรงและอายุยืนยาว
มักมีคำถามจากผู้ปกครองเสมอว่า มียาชนิดรับประทาน ที่จะใช้ขับเหล็กหรือไม่ เพราะการฉีดยาทำให้ผู้ป่วยเจ็บ ต้องให้เป็นเวลานานเกิดความเบื่อหน่าย และบางครั้งมีปัญหาเฉพาะ ที่เป็นแผล หรือรอยแข็งเป็นไตบริเวณที่ฉีด จึงขอเรียนว่า ปัจจุบันนี้นักวิจัย ได้มีการทดลองและพยายามพัฒนายาขับเหล็กชนิดรับประทานหลายชนิด คาดว่า 2-3 ปีข้างหน้านี้น่าจะมียาขับเหล็กชนิดรับประทาน ที่นำมาใช้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ และมีปัญหาข้างเคียงน้อยจนเป็นที่ยอมรับได้

4. การตัดม้าม
ม้ามเป็นอวัยวะในช่องท้องด้านบนทางซ้าย ปกติจะมีขนาด เล็กคลำไม่ได้ ในผู้ป่วยธาลัสซีเมียจะมีม้ามใหญ่ ระยะแรกม้าม จะช่วยในการสร้างเม็ดเลือด แต่ม้ามมีหน้าที่ทำลายเม็ดเลือดแก่ๆ ที่จะตายด้วยในผู้ป่วยธาลัสซีเมีย เม็ดเลือดแดงผิดปกติจะแตกตายเร็ว ม้ามต้องทำหน้าที่มาก ม้ามจึงโตขึ้น ๆ เมื่อม้ามโตมาทำให้ท้องป่องอึดอัด และกลับเพิ่มการทำลายเม็ดเลือดมากขึ้น ผู้ป่วยบางรายม้ามโตมากจนเต็มท้อง ทำให้ต้องให้เลือดถี่มากขึ้นๆ ทุกเดือนหรือทุก 2-3 สัปดาห์ก็ยังซีดอยู่ แพทย์จึงพิจารณาตัดม้าม ซึ่งมีผลดี หลังการตัดม้ามทำให้หายอึดอัด และอัตราการให้เลือดจะลดลงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคฮีโมโกลบินเอ็ช มักไม่ต้องให้เลือดอีกเลย แต่ ผลเสียของการตัดม้ามก็มี คือ อาจมีภาวะติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กอายุน้อยกว่า 4 ปี แพทย์จึงมักไม่ตัดม้ามเด็กอายุน้อยกว่า 4 ปี หลังตัดม้าม ผู้ป่วยจะต้องกินยาปฏิชีวนะเพนนิซิลลิน วี (Pen V) 1 เม็ด เช้า-เย็น อย่างน้อย 2-3 ปีหรือจนพ้นวัยเด็ก ที่สำคัญในผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย ทั้งก่อนและหลังการตัดม้ามคือ หากมีไข้สูงอ่อนเพลียมาก ซีดลง หรือท้องร่วงร่วมด้วยไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน เพราะอาจเกิดการติดเชื้ออื่นๆ ที่รุนแรงที่ไม่ตอบสองต่อ Penicillin V ก็ได้ นอกจากนี้ภายหลังตัดม้าม การดูดซึมธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น และเหล็กซึ่งเดิมเคยสะสมที่ม้ามได้ด้วยจะไปสะสมในอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ ตับอ่อนเกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นตับแข็ง เบาหวาน แพทย์ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนการตัดม้าม

5. การปลูกถ่ายไขกระดูก
ปัจจุบันเป็นวิธีเดียวที่สามารถรักษาโรคธาลัสซีเมียให้หายขาด ได้ หลักการคือ ผู้ป่วยมีเซลล์เม็ดเลือดแดง และเซลล์ต้นกำเนิด ในไขกระดูกผิดปกติ ต้องกำจัดเซลล์เหล่านี้ให้หมดโดยการ ให้ยาเคมีบำบัดขนาดสูง แล้วให้เซลล์ต้นกำเนิด ที่ได้จากไขกระดูก ที่ปกติเข้าไปแทนที่แก่ผู้ป่วย ทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดที่ปกติขึ้นมาใหม่ได้ ส่วนใหญ่แพทย์จะเลือกทำการปลูกถ่ายไขกระดูกในรายที่ผู้ป่วย เป็นโรคธาลัสซีเมียที่รุนแรง แต่ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อนของโรค ธาลัสซีเมียชัดเจน เช่น ไม่มีตับแข็ง หรือเป็นเบาหวาน ได้แก่ธาลัสซีเมียในเด็กนั่นเอง และมีพี่น้องที่ไม่เป็นโรค รวมทั้งมีลักษณะทางพันธุกรรมของเลือดที่เรียกว่า เอ็ชแอลเอ (Human Lymphocyte Antigen : HLA) เหมือนกับผู้ป่วย

ขั้นตอนการปลูกถ่ายไขกระดูก คือ

5.1 ตรวจเลือดพี่หรือน้องพ่อแม่เดียวกัน (ต่างเพศกันก็ใช้ได้) ว่าไม่เป็นโรค (เป็นพาหะก็เป็นผู้ให้ไขกระดูกได้) และมีสุขภาพสมบูรณ์ดี

5.2 ตรวจเลือดผู้ให้ไขกระดูกและผู้ป่วย ว่ามี HLA ตรงกัน หรือไม่ (หมู่เลือด A B O ไม่ตรงกันก็ใช้ได้) ซึ่งโอกาสที่ HLA จะตรงกันเท่ากับ 1 ใน 4 พร้อมกันนี้มีการตรวจภาวะติดเชื้อตับอักเสบ, AIDS, และไวรัสบางชนิด เช่น CMV ไปด้วย ขั้นตอนนี้เสียค่าใช้จ่ายประมาณ 10,000 บาท แพทย์จะตรวจเลือดบิดา และมารดาพร้อมกันไปด้วย เพื่อประกอบการพิจารณาผล หาก HLA ตรงกัน จึงทำการปลูกถ่ายไขกระดูกได้ ในผู้ป่วยที่ได้รับเลือดมาหลายครั้ง จะต้องตรวจภูมิต่อต้านเกร็ดเลือด (platelet antibody) ด้วย หากมี antibody จะต้องหาผู้บริจาคเกร็ดเลือดที่เข้ากันได้ ถ้าผู้ป่วยไม่มีภูมิต่อต้านไวรัส CMV (CMV antibody negative) ก็ต้องหาผู้บริจาคที่มี CMV negative เตรียมไว้ให้บริจาคแก่ผู้ป่วยด้วยเช่นกัน

5.3 เตรีมผู้ป่วยให้พร้อมที่จะรับการปลูกถ่ายไขกระดูก ได้แก่ การตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด ทำฟัน ถ่ายพยาธิ แล้วรับผู้ป่วย ไว้ในห้องแยกที่สะอาด และได้รับการดูแลพิเศษ ใส่สายสวน เข้าทางหลอดเลือดดำใหญ่ (ต้องดมยาสลบ) ซึ่งสายนี้ใส่ไว้ได้นานหลายเดือน สามารถดูดเลือดจากสายเพื่อนำไปตรวจต่างๆ โดยไม่ต้องเจาะเลือดจากเส้นอื่น เพื่อความสะดวกและผู้ป่วยไม่เจ็บ รวมทั้งใช้ในการให้ยา สารอาหาร เลือดและเกร็ดเลือด ต่อจากนั้นให้ยากดภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันมิให้เกิดภาวะต่อต้านกันของไขกระดูกที่จะนำมาให้ผู้ป่วย และให้ยาเคมีบำบัดแก่ผู้ป่วย เพื่อกำจัดเซลล์ต้นกำเนิดที่ผิดปกติของผู้ป่วยให้หมดไป ไขกระดูกของผู้ป่วยจะว่าง พร้อมที่จะรับไขกระดูกปกติให้เข้าไปแทนที่ และเจริญต่อไป

5.4 ให้ยาสลบแก่ผู้ให้ไขกระดูก และแพทย์จะเจาะไขกระดูก บริเวณสะโพกออกมาจำนวนมากพอสำหรับผู้ป่วย (20 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักเป็นกิโลกรัมของผู้ป่วย) หากจำเป็นแพทย์จะให้เลือดทดแทน เมื่อเสร็จสิ้นการเจาะไขกระดูก นำไขกระดูกที่เจาะได้ไปให้แก่ผู้ป่วย ทางสายสวนที่ใส่ไว้ในหลอดเลือดดำใหญ่ สำหรับผู้ให้ไขกระดูก ต้องอยู่โรงพยาบาลเพียง 2-3 วัน เท่าที่ผ่านมาทุกรายปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

5.5 การดูแลติดตามผลภายหลังการปลูกถ่ายไขกระดูก หลังให้ยากดภูมิคุ้มกันและเคมีบำบัด จะทำให้เม็ดเลือดแดงเม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือดของผู้ป่วยลดต่ำลงมาก อาจมีผลให้ติดเชื้อได้ง่าย มีเลือดออกและซีดลงได้ การให้ยาปฏิชีวนะ เลือดและเกร็ดเลือด รวมทั้งการดูแลใกล้ชิดจะช่วยประคับประคอง ให้ผู้ป่วยพ้น ภาวะแทรกซ้อนไปได้ พร้อม ๆ กันนี้ไขกระดูกใหม่ที่ผู้ป่วยได้รับ ก็จะสร้างเม็ดเลือดใหม่ ๆ มาแทนที่ได้ภายในเวลา 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยมักต้องอยู่โรงพยาบาลนาน 1.5-2 เดือน จนกว่าจะปลอดภัย และยังต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน 6 เดือน และยาป้องกัน การติดเชื้อต่ออีกประมาณ 12 เดือน จึงหยุดยาได้ การติดเชื้อ ต่ออีกประมาณ 12 เดือน จึงหยุดยาได้

การหายจากโรคสามารถติดตามดูได้จากการตรวจเลือด และไขกระดูก ซึ่งจะกลับมาเป็นเหมือนกับเลือดของพี่หรือน้องที่เป็นผู้ให้ไขกระดูก ทั้งหมู่เลือด และลักษณะของเม็ดเลือด แต่ลักษณะทางพันธุกรรม จะไม่ถูกเปลี่ยนไปด้วย เพราะปลูกถ่ายเฉพาะไขกระดูก ไม่ได้เปลี่ยนรังไข่ หรือเซลล์สืบพันธุ์เพศ ผู้ป่วยที่หายจากโรคแล้ว จึงต้องตรวจเลือดคู่สมรสก่อนการมีบุตร เช่นเดียวกับ ผู้ที่เป็นโรคคนอื่นๆ

6. การใช้เลือดสายสะดือรักษาโรคธาลัสซีเมีย
เลือดสายสะดือของทารกแรกเกิด มีเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถ เจริญเป็นเม็ดเลือดชนิดต่างๆ ได้ เช่นเดียวกับเซลล์ไขกระดูก จึงสามารถนำเลือดสายสะดือมาปลูกถ่ายให้ผู้ป่วย เพื่อรักษาโรคธาลัสซีเมียได้เช่นเดียวกับการปลูกถ่ายไขกระดูก ทำโดยใช้เลือดสายสะดือของน้อง ที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยตั้งแต่ ในครรภ์มารดาที่ไม่เป็นโรค มารดาต้องมาคลอดกับแพทย์ และมีการเก็บเลือดสายสะดือไว้ให้มากที่สุดอย่างถูกวิธีและสะอาด ปราศจากเชื้อ แพทย์จะแบ่งเลือดสะดือส่วนหนึ่งไปตรวจซ้ำว่า ทารกไม่เป็นโรค ตรวจหมู่เลือดและ เอ็ช แอล เอ (HLA) หาก HLA เข้ากันได้กับพี่ที่เป็นโรคก็สามารถนำมาปลูกถ่ายใช้รักษาพี่ได้ โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น เดียวกับการปลูกถ่ายไขกระดูก ข้อดีคือ ไม่ต้องเจาะไขกระดูกของน้อง ไม่รบกวนทารกเพราะดูดเลือด จากสายสะดือและจากรก แต่ต้องมีการวางแผนล่วงหน้า ในการฝากครรภ์การวินิจฉัยทารกในครรภ์และการคลอดของมารดา
ปัจจุบัน (พฤษภาคม 2540) ที่โรงพยาบาลศิริราช ได้ทำการปลูกถ่ายไขกระดูกรักษาผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย ในเด็กไปแล้วรวม 28 ราย หายจากโรค 22 ราย โรคกลับเป็นอีก 4 ราย และถึงแก่กรรม 2 ราย จากโรคติดเชื้อ ส่วนการรักษา โดยใช้เลือดสายสะดือของน้อง ทำไปแล้วรวม 7 ราย พบว่า ส่วนใหญ่ได้ผลดี ผู้ป่วยหายจากโรค 4 ราย แต่ถึงแก่กรรมไป 2 ราย (ผู้ป่วยรายนี้เป็นเด็กโต อายุมากและมีธาตุเหล็กเกินมาก) ผลการรักษาจะดีหากมีการเตรียมผู้ป่วยอย่างดี มีการวางแผนล่วงหน้า ทั้งที่เกี่ยวข้องกับการให้เลือด การให้ยาขับธาตุเหล็กและการรักษา หากทำแต่เนิ่นๆ ก่อนมีภาวะแทรกซ้อน
ค่าใช้จ่ายในการปลูกถ่ายไขกระดูกและการปลูกถ่ายเลือดสายสะดือ ใกล้เคียงกันคือประมาณ 100,000 บาท-400,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ น้ำหนักตัวของผู้ป่วย และภาวะแทรกซ้อน

7. การเปลี่ยนยีน
เนื่องจากปัจจุบันทราบสาเหตุของโรคทางพันธุกรรมว่า มีความ ผิดปกติของยีนที่ใด อย่างไร ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถทำการเปลี่ยนยีนได้ โดยมีวิธีที่จะเอายีนที่ปกติเข้าไปแทนที่ยีนผิดปกติ ทำสำเร็จ ในโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดหนึ่งแล้ว คาดว่าในอนาคตอันใกล้ จะมีการใช้วิธีเปลี่ยนยีนนี้ รักษาโรคทางพันธุกรรมได้อีกหลายโรค รวมทั้งโรคธาลัสซีเมียด้วย

การควบคุมป้องกันโรค
โรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบมากในบ้านเรา ผู้ที่เป็นโรคมีอาการเรื้อรังและรักษายาก เป็นปัญหาต่อสุขภาพ ทั้งกายและใจอย่างมาก การรู้จักโรคนี้และเข้าใจแบบแผนการถ่ายทอด ทางพันธุกรรม จะทำให้ประชาชนเห็นความสำคัญและสนใจที่จะมีส่วนร่วม ในการควบคุมป้องกันโรค ตามที่กล่าวแล้วว่าผู้เป็นโรคคือ ผู้ที่ได้รับยีนผิดปกติมาจากทั้งบิดาและมารดาซึ่งเป็นพาหะ และพาหะคือ คนแข็งแรงปกติ แต่มียีนธาลัสซีเมียแฝงอยู่ ปัจจุบันการตรวจเลือดโดยวิธีพิเศษ (ตรวจเลือดเลือดโดยวิธีพิเศษ คือ การตรวจเพื่อหาภาวะแฝงและโรคธาลัสซีเมีย ทำได้ที่โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย, โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลเอกชนบางแห่ง) จะบอกได้ว่าผู้ใดปกติ ผู้ใดเป็นโรค ผู้ใดเป็นพาหะและเป็นพาหะชนิดใด ฉะนั้นต้อง ตรวจเลือดโดยวิธีพิเศษ จึงจะทราบแน่นอน

ใครบ้างที่จะเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย ?
คนทั่วไปมีโอกาสจะเป็นพาหะ หรือมียีนของธาลัสซีเมียชนิด ใดชนิดหนึ่งถึงร้อยละ 30-40
ชายหญิงที่มีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียต้องมียีนธาลัสซีเมียเสมอ
พี่น้องหรือญาติของผู้เป็นโรคธาลัสซีเมีย หรือพาหะของโรคธา ลัสซีเมียมีโอกาสที่จะมียีนธาลัสซีเมียมากกว่าคนทั่วไป

ใครบ้างที่อาจมีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมีย?
คู่สามีภรรยาที่เคยมีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมียมาก่อน หรือสามี และภรรยาที่มียีนธาลัสซีเมียพวกเดียวกันดังที่กล่าวมาแล้ว

จะเห็นได้ว่าโดยสรุป ควรมีการตรวจเลือดคู่สมรสที่จะมีลูก อาจตรวจคนเดียวก่อน หากเป็นพาหะของธาลัสซีเมีย หรือมียีนธาลัสซีเมีย ต้องตรวจคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง หาคู่สมรสเป็นพาหะของธาลัสซีเมียพวกเดียวกัน ถ้ามีลูกก็มีอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคดังกล่าวแล้ว แพทย์จะให้คำอธิบายถึง อัตราเสี่ยงและความรุนแรงของโรคในลูก ทางเลือกของคู่สมรส ที่มีอัตราเสี่ยงในการมีลูกเป็นโรคชนิดที่รุนแรงคือ

1. ไม่มีลูกของตนเอง โดยคุมกำเนิดหรือทำหมัน
2. ยอมเสี่ยงที่จะมีลูกที่เป็นโรค
3. ตรวจทารกในครรภ์ว่าเป็นโรค ปกติหรือเป็นพาหะ
4. การวินิจฉัยตรวจโรคตัวอ่อนก่อนนำไปฝังตัวในมดลูก ก่อนการ ตั้งครรภ์ (Preimplantation) จะทำให้สามารถเลือกทารกที่ไม่เป็นโรคได้ เป็นโครงการในอนาคต

ปัจจุบันด้วยภาวะเศรษฐกิจและสังคมครอบครัวส่วนใหญ่มักจะมี บุตรน้อย หากมีบุตรพอแล้วจึงควรทำหมัน สำหรับการตรวจทารกในครรภ์ ต้องทำแต่เนิ่นๆ ในคู่สมรส ที่มีความเสี่ยงที่จะมีลูกเป็นโรค ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผน การตรวจตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ หรือทันทีเมื่อสงสัยว่าตั้งครรภ์ ควรตรวจกับสูติแพทย์ว่าตั้งครรภ์จริง และคาดคะเนอายุครรภ์ ด้วยเครื่องมืออัตราซาวนด์ แพทย์จะตรวจเลือดคู่สมรสซ้ำ ดูรายละเอียดของความผิดปกติของยีนธาลัสซีเมีย เพื่อวางแผน การวินิจฉัยทารกในครรภ์ และแพทย์จะนัดตรวจทารก โดยการเจาะด้วยเข็มพิเศษผ่านทางช่องคลอด หรือทางหน้าท้อง นำน้ำคร่ำ หรือเลือดของทารก หรือชิ้นรกซึ่งเป็นเนื้อเยื่อของทารกไปตรวจ การตรวจจะทำเมื่ออายุครรภ์เพียง 6-18 สัปดาห์ ทั้งนี้สุดแต่ชนิด ของยีนที่ผิดปกติ ตามความเหมาะสมในแต่ละรายไป

http://www.perfectwomaninstitute.com/baby-thalassemia.php
http://women.sanook.com/ธาลัสซีเมียว่าที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวไม่ควรมองข้าม-797745.html

Thursday, September 8, 2011

ฮาย อาภาพร ผ่าตัดเนื้องอก โรงพยาบาลพญาไท 1

ฮาย อาภาพร ผ่าตัดเนื้องอก โรงพยาบาลพญาไท phyathai 1 ฮาย อาภาพร ผ่าตัดเนื้องอก โรงพยาบาลพญาไท phyathai 1
แพทย์เผยผลผ่าตัดเนื้องอก ฮาย อาภาพร ฉลุย
www.phyathai.com/phyathai/new/th/home/popup_cms_detail.php?id...
แพทย์เผยผลผ่าตัดเนื้องอก ฮาย อาภาพร ฉลุย. ... นาวาเอกนายแพทย์ โซ่สกุล บุณยะวิโรจ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งนรีเวช และการผ่าตัดผ่านกล้อง โรงพยาบาลพญาไท 1 ... ฮาย อาภาพร ผ่าตัดเนื้องอก โรงพยาบาลพญาไท phyathai 1



PHYATHAI HOSPITAL : โรงพยาบาลพญาไท
www.phyathai.com/phyathai/new/th/home/index.php
แพทย์เผยผลผ่าตัดเนื้องอก ฮาย อาภาพร ฉลุย "แผลเล็ก ฟื้นตัวไว พร้อมลุยงานต่อ" ... พญาไท1 ขอเรียนเชิญว่าที่คุณแม่มือใหม่ คุณแม่มืออาชีพ เข้าร่วมฟังสัมมนาในงาน ... ฮาย อาภาพร ผ่าตัดเนื้องอก โรงพยาบาลพญาไท phyathai 1

http://webboard.sanook.com/forum/?topic=3490541

Tuesday, September 6, 2011

โรคเลือดจาง ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) อาการ รักษา ป้องกัน

โรคเลือดจาง ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) อาการ รักษา ป้องกัน โรคเลือดจาง ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) อาการ รักษา ป้องกัน
คือ โรคซีดชนิดหนึ่งที่เป็นกันในครอบครัวหรือที่เรียกว่า โรคกรรมพันธุ์มีการสร้างสาร ฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นสารสีแดงในเม็ดเลือดแดง ลดน้อยลง เม็ดเลือดแดงมีลักษณะผิดปกติและแตกง่าย ก่อให้เกิดอาการซีด เลือดจางเรื้อรัง และมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา ผู้ที่เป็นโรคนี้ ได้รับยีนที่ควบคุมการสร้างเม็ดเลือดแดงผิดปกติมาจากทั้งพ่อและแม่

ยีน คือ หน่วยพันธุกรรมที่กำหนดลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต พืช สัตว์ มนุษย์ เช่น ในมนุษย์กำหนดสี และลักษณะของ ผิว ตา และผมความสูง ความฉลาด หมู่เลือด ชนิดของฮีโมโกลบิน รวมทั้งโรคบางอย่าง เป็นต้น ยีนที่ควบคุมกำหนดลักษณะต่างๆ ในร่างกายจะเป็นคู่ ข้างหนึ่งได้รับถ่ายทอดมาจากพ่อ อีกข้างหนึ่งได้รับมาจากแม่ สำหรับผู้มียีนธาลัสซีเมีย(Thalassemia) มีได้สองแบบคือ

เป็นพาหะ คือ ผู้ที่มียีน หรือกรรมพันธุ์ของโรคธาลัสซีเมีย(Thalassemia) พวกหนึ่งเพียงข้างเดียวเรียกว่า มียีนธาลัสซีเมียแฝงอยู่ จะมีสุขภาพดีปกติ ต้องตรวจเลือดโดย วิธีพิเศษ จึงจะบอกได้ เรียกว่า เป็นพาหะ เพราะสามารถ่ายทอดยีนผิดปกติไปให้ลูกก็ได้ พาหะอาจให้ยีนข้างที่ปกติ หรือข้างที่ผิดปกติให้ลูกก็ได้
เป็นโรค คือ ผู้ที่รับยีนผิดปกติ หรือกรรมพันธุ์ของโรคธาลัสซี เมียพวกเดียวกันมาจากทั้งพ่อและแม่ ผู้ป่วยมียีนผิดปกติทั้งสองข้าง และถ่ายทอดความผิดปกติข้างใดข้างหนึ่งต่อไป ให้ลูกแต่ละคนด้วย

ภาวะธาลัสซีเมียพบมากเพียงใด และถ่ายทอดได้อย่างไร
ภาวะธาลัสซีเมียพบมากในประเทศไทย และพบได้ทั่วโลก ภาวะธาลัสซีเมียที่พบในบางประเทศเกือบทั้งหมด เป็นแบบเดียวกัน แต่ในประเทศไทยมีความหลากหลายมาก จากการสำรวจ ภาวะธาลัสซีเมียในประเทศไทยสามารถแบ่งเป็นพวกใหญ่ๆ 2 พวกคือ

พวกที่ 1 - แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย พบมากได้แก่
พาหะของแอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 1 พบประมาณร้อยละ 5
พาหะของแอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 2 พบประมาณร้อยละ 16
พาหะของฮีโมโกลบินคอนสแตนท์สปริง พบประมาณร้อยละ 4

พวกที่ 2 - เบต้า-ธาลัสซีเมีย
พาหะของเบต้า-ธาลัสซีเมีย พบประมาณร้อยละ 5
พาหะของฮีโมโกลบินอี พบประมาณร้อยละ 13

ข้อมูลข้างบนนี้เป็นภาพรวมอัตราเฉลี่ยของประเทศ การสำรวจในแต่ละภาค จะได้ค่าแตกต่างกันออกไปบ้าง ในภาคเหนือ พบแอลฟ่า-ธาลัสซีเมียมาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบฮีโมโกลบินอีมาก เช่น ในจังหวัดสุรินทร์ สกลนคร พบถึงร้อยละ 50-60 ของประชากรทีเดียว กล่าวได้ว่า โดยเฉลี่ยชาวไทยเป็นพาหะของธาลัสซีเมียชนิดใดชนิดหนึ่ง ถึงร้อยละ 30-40 หรือประมาณ 20 ล้านคน เมื่อพาหะแต่งงานกัน และเป็นชนิดที่เป็นพวกเดียวกัน อาจมีลูกเป็นโรคได้ พบว่าในประเทศไทยมีคนเป็นโรคธาลัสซีเมียมาก ถึงร้อยละ 1 หรือประมาณ 6 แสนคน

ที่กล่าวว่า ผู้เป็นโรคต้องได้รับยีนผิดปกติจากทั้งบิดา และมารดาและต้องเป็นชนิดที่เป็นพวกเดียวกัน หมายถึง แอลฟ่าธาลัสซีเมียด้วยกัน หรือ เบต้าธาลัสซีเมียด้วยกัน เนื่องจาก ยีนธาลัสซีเมียมีหลายชนิด การได้รับยีนผิดปกติมาจับคู่กัน จึงมีหลายชนิดด้วย มีชื่อเรียกต่างๆ กันและนอกจากนี้ความรุนแรง ยังแตกต่างกันมาก ตั้งแต่รุนแรงมากที่สุดถึงไม่มีอาการเลย ดังนี้คือ

พวกแอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย
แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 1 กับ แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 1 เรียกว่า ฮีโมโกลบินบาร์ทไฮดรอพส์ ฟิทัลสลิส รุนแรงที่สุด
แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 1 กับ แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 2 เรียกว่า ฮีโมโกลบินเอ็ช รุนแรงน้อย
แอลฟ่า -ธาลัสซีเมีย 1 กับ ฮีโมโกลบินคอนสแตนท์สปริง เรียกว่า ฮีโมโกลบินเอ็ชคอนสแตนท์สปริง รุนแรงน้อย
ฮีโมโกลบินคอนสแตน์สปริง กับ ฮีโมโกลบินคอนสแตนท์ สปริง เรียกว่า โฮโมซัยกัสคอนสแตนท์สปริง อาการน้อยมาก
แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 2 กับ แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย 2 เรียกว่า โฮโมซัยกัส ไม่มีอาการ

พวกเบต้า-ธาลัสซีเมีย
เบต้า-ธาลัสซีเมีย กับ เต้า-ธาลัสซีเมีย เรียกว่า โฮโมซัยกัส
เบต้าธาลัสซีเมีย หรือ เบต้า-ธาลัสซีเมียเมเจอร์ รุนแรงมาก
เบต้า-ธาลัสซีเมีย กับ ฮีโมโกลบินอี เรียกว่า เบต้า-ธาลัสซี เมีย/ฮีโมโกลบินอี รุนแรงปานกลาง
ฮีโมโกลบินอี กับฮีโมโกลบินอี เรียกว่า โฮโมซัสกัส ฮีโมโกลบินอี อาการน้อยมาก

ในกรณีที่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพาหะของภาวะแอลฟ่าธาลัสซี เมีย แต่อีกฝ่ายหนึ่งเป็นพาหะของเบต้า-ธาลัสซีเมีย มีโอกาสที่บุตรจะรับความผิดปกติจากทั้งบิดาและมารดา คือ มีทั้ง แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย และเบต้า-ธาลัสซีเมีย ได้ แต่เนื่องจากเป็นความผิดปกติ ที่ไม่ใช่พวกเดียวกัน จึงทำให้เกิดโรคธาลัสซีเมีย แต่บุตรคนนี้ จะถ่ายทอดภาวะแอลฟ่า-ธาลัสซีเมียและ/หรือเบต้า-ธาลัสซีเมีย ไปยังลูก ๆ ของตนต่อไปได้

ถ้าพ่อหรือแม่เป็นพาหะเพียงคนเดียว โอกาสที่ลูกจะเป็นพาหะเท่ากับ 2 ใน 4 หรือครึ่งต่อครึ่ง แต่จะไม่มีลูกคนใดเป็นโรค
ถ้าพ่อและแม่เป็นพาหะของธาลัสซีเมียชนิดเดียวกัน โอกาสที่ลูก จะเป็นโรคเท่ากับ 1 ใน 4 โอกาสที่จะเป็นพาหะเท่ากับ 2 ใน 4 และปกติเท่ากับ 1 ใน 4
ถ้าพ่อและแม่ เป็นพาหะที่ไม่เหมือนกัน แต่อยู่ในพวกเดียวกัน โอกาสที่ลูกจะเป็นโรคเท่ากับ 1 ใน 4 เป็นพาหะแบบพ่อเท่ากับ 1 ใน 4 เป็นพาหะแบบแม่เท่ากับ 1 ใน 4 และเป็นปกติเท่ากับ 1 ใน 4
ถ้าพ่อและแม่ ฝ่ายหนึ่งเป็นโรค ชนิดที่เกิดจากยีนที่ไม่เหมือนกัน แต่เป็นพวกเดียวกัน เช่น เบต้า-ธาลัสซีเมียด้วยกัน หรือแอลฟ่าธาลัสซีเมียด้วยกัน และอีกฝ่ายไม่มียีนผิดปกติ ลูกทุกคน จะมีภาวะแฝงเท่านั้นไม่เป็นโรค
ถ้าพ่อและแม่ ฝ่ายหนึ่งเป็นโรค อีกฝ่ายหนึ่งเป็นพาหะของธาลัสซีเมีย พวกเดียวกัน ลูกครึ่งหนึ่งจะเป็นพาหะ อีกครึ่งหนึ่งเป็นโรค

โอกาสหรืออาจจะเรียกว่า อัตราเสี่ยงที่เกิดในลูก ที่จะเป็นโรค เป็นพาหะหรือเป็นปกติ ในแต่ละครอบครัว จะเท่ากันทุกครั้งของการตั้งครรภ์ บางครอบครัวที่พ่อและแม่มียีนธาลัสซีเมียแฝงอยู่ทั้งคู่ มีลูก 7 คน เป็นโรคเพียงคนเดียว แต่บางครอบครัวมีลูก 3 คน เป็นโรคทั้ง 3 คน ทั้งนี้สุดแล้วแต่ว่าลูกที่เกิดมาในแต่ละครรภ์ จะรับยีนธาลัสซีเมีย ไปจากพ่อและแม่ หรือไม่ ทั้งๆ ที่อัตราเสี่ยงของทั้งสองครอบครัวนี้เท่ากัน และทุกครรภ์มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเท่ากับ 1 ใน 4

อาการของผู้เป็นโรคธาลัสซีเมีย
โรคธาลัสซีเมีย มีความรุนแรงต่างกันได้มา จะขอแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

ฮีโมโกลบินบาร์ทไฮดรอพส์ฟิทัลลิส (Hb Bart's hydrops fetalis)
เป็นชนิดที่รุนแรงที่สุด จะตายทั้งหมด อาจตามตั้งแต่ในครรภ์ ตายขณะคลอด หรือหลังคลอดเล็กน้อย ทารกมีลักษณะบวมและซีด รกมีขนาดใหญ่ ท้องป่องตับโตมาก ส่วนแม่ที่ตั้งครรภ์ลูกที่เป็นโรคนี้ จะมีปัญหาแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์คือ ครรภ์เป็นพิษ มีความดันเลือดสูง บวม มักมีการคลอดที่ผิดปกติ และมีการตกเลือดหลังคลอดด้วย

เบต้า-ธาลัสซีเมีย/ฮีโมโกลบินอี (b-thalassemia/Hb E) และ โฮโมซัยกัส เบต้า-ธาลัสซีเมีย (Homozygous b-thalassemia)
ผู้ป่วยกลุ่มนี้แรกเกิดปกติ จะเริ่มมีอาการได้ตั้งแต่ภายในขวบ ปีแรก หรือหลังจากนั้น โดยผู้เป็นโรคชนิดหลัง มักมีอาการรุนแรงกว่าชนิดแรก อาการสำคัญคือ ซีด อ่อนเพลีย ท้องป่อง ม้ามและตับโต กระดูกใบหน้าเปลี่ยน จมูกแบน โหนกแก้มสูง คางและขากรรไกรกว้างใหญ่ ฟันบนยื่น กระดูกบางเปราะหักง่าย ร่างกายแคระแกร็น เจริญเติบโตไม่สมอายุ ในรายที่ซีดมากจำเป็นต้องได้รับเลือด แต่เนื่องจากในเลือดมีธาตุเหล็กมาก ฉะนั้นหากผู้ป่วยได้รับเลือดบ่อย ๆ จะเกิดภาวะแทรกซ้อน ที่สำคัญคือ มีธาตุเหล็กเกิน ไปสะสมในอวัยวะต่างๆ มีผลทำให้ผิวคล้ำ เป็นตับแข็ง เบาหวาน หัวใจล้มเหลว เป็นต้น นอกจากนี้ผลจากการสลายของเม็ดเลือดแดง ยังอาจพบนิ่วในถุงน้ำดีด้วย

โรคฮีโมโกลบินเอ็ช (Hb H disease)
ส่วนใหญ่มีอาการน้อย ยกเว้นบางรายอาการรุนแรงคล้ายเบ ต้า-ธาลัสซีเมียได้ ผู้ป่วยซีดเล็กน้อย บางครั้งมีเหลืองเล็กน้อยร่วมด้วย ทำให้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นโรคตับหรือโรคดีซ่าน หากมีไข้ติดเชื้อ ผู้ป่วยพวกนี้จะซีดลงได้มากและเร็ว จนทำให้หัวใจวายได้

โรคธาลัสซีเมีย รักษาได้อย่างไร
เนื่องจากโรคธาลัสซีเมียในประเทศไทย มีหลายชนิด และก่อให้เกิดอาการแตกต่างกันได้มาก ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการน้อยมาก จนไม่ต้องให้การรักษาอย่างใดเป็นพิเศษ แต่บางรายซีดมาก ต้องได้รับการรักษาและติดต่อกับแพทย์เป็นประจำโดยสม่ำเสมอ ฉะนั้นก่อนอื่นผู้ปกครอง ผู้ป่วย และครอบครัว จะต้องเข้าใจเสียก่อนว่า โรคธาลัสซีเมีย คืออะไร มีแบบแผนการทางการถ่ายทอดทางพันธุกรรมอย่างไร ผู้ป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดใด ผู้ที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดทางสายเลือด เช่น บิดา มารดา บุตร พี่น้อง และรวมทั้งคู่สมรส ควรได้รับการตรวจเลือด เพื่อให้ทราบและเข้าใจเกี่ยวกับแบบแผนการถ่ายทอดทางพันธุกรรม และจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนการรักษาผู้ป่วย

การรักษาได้แก่

1. การดูแลรักษาสุขภาพทั่วไป ควรมีสุขอนามัยที่ดี สะอาด

การปฏิบัติตัว - ออกกำลังกายเท่าที่จะทำได้ ไม่เหนื่อยเกินไป เนื่องจากมีกระดูกเปราะหักง่าย ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ผาดโผน ไม่สูบบุหรี่เพราะมีอาการซีดอยู่แล้ว ร่างกายจะขาดออกซิเจนมากขึ้น ไม่ควรดื่มเหล้าเพราะผลเสียต่อตับ ซึ่งมีธาตุเหล็กไปสะสม มีปัญหาอยู่แล้ว

อาหาร - คนที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย เม็ดเลือดแดงแตกเร็ว ร่างกายพยายามสร้างเม็ดเลือดแดงใหม่ขึ้นมาแทน สร้างมากและสร้างเร็ว กว่าคนปกติหลายเท่า ฉะนั้นควรรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ นม และอาหารที่มีวิตามินที่เรียกว่า "โฟเลท" อยู่มาก ได้แก่ ผักสดต่างๆ สารอาหารเหล่านี้ จะถูกนำไปสร้างเม็ดเลือดแดงได้ อาหารที่ควรละเว้นคือ อาหารที่มีธาตุเหล็กสูงมากเป็นพิเศษ ได้แก่ เลือดสัตว์ต่างๆ เช่น เลือดหมู เลือดเป็ด เลือดไก่ สำหรับเครื่องดื่มประเภทน้ำชา น้ำเต้าหู้ จะช่วยลดการดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหารได้บ้าง

ยา - ไม่ควรซื้อยาบำรุงโลหิตกินเอง เพราะอาจเป็นยาที่มีธาตุเหล็กซึ่งใช้สำหรับรักษาคนที่ขาดธาตุเหล็ก ไม่ใช่สำหรับโรคธาลัสซีเมียที่มีเหล็กเกินอยู่แล้ว ควรรับประทานยา วิตามินโฟเลท (Folate) อาจช่วยเสริมให้มีการสร้างเม็ดเลือดแดงได้ดีขึ้นบ้าง

2. การให้เลือด มี 2 แบบคือ

2.1 การให้เลือดแบบประคับประคอง (low transfusion) เพิ่มระดับฮีโมโกลบินขึ้นให้สูงกว่า 6-7 กรัม/เดซิลิตร หรือระดับฮีมาโตคริต สูงกว่า 20% พอให้ผู้ป่วยหายจากอาการอ่อนเพลีย เหนื่อย มึนงง จากอาการขาดออกซิเจน เป็นการให้เป็นครั้งคราว ตามความจำเป็น

2.2 การให้เลือดจนหายซีด (high transfusion) เพิ่มระดับฮีโมโกลบินให้สูงใกล้เคียงคนปกติ อาจต้องให้เลือดทุกสัปดาห์ 2-3 ครั้ง จนระดับฮีโมโกลบินก่อนให้เลือดอยู่ในเกณฑ์ 10 กรัม/เดซิลิตร เสียก่อน (ฮีมาโตคริต 30% ต่อจากนั้นให้เลือดอย่างสม่ำเสมอทุก 2.5-3 สัปดาห์ตลอดไป โดยจะทำให้ค่าเฉลี่ยของฮีโมโกลบินของผู้ป่วยสูงขึ้น ได้ประมาณ 12 กรัม/เดซิลิตร (ฮีมาโตคริต 36%) วิธีนี้ส่วนมากจะให้แก่ผู้ป่วย ที่เป็นโรคชนิดที่รุนแรง และมักจะให้ผู้ป่วยอายุน้อย ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ลักษณะกระดูกหน้า และม้ามยังไม่โต ผู้ป่วยจะแข็งแรงเหมือนเด็กปกติไม่เหนื่อย และจะป้องกันมิให้ใบหน้าเปลี่ยน ม้ามจะไม่โต และการเจริญเติบโตจะปกติ ข้อเสีย ของการให้เลือดวิธีนี้คือ ต้องมารับเลือดอย่างสม่ำเสมอ และจะมีปัญหาแทรกซ้อน ของการให้เลือดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีภาวะเหล็กเกินตามมา

ปัญหาแทรกซ้อนของการให้เลือดมีหลายประการได้แก่

ก. การติดเชื้อจากการให้เลือด ได้แก่ ตับอักเสบ เอดส์ (AIDS) มาลาเรีย เป็นต้น แม้ว่าธนาคารเลือดจะได้ซักประวัติ และตรวจเลือด คัดเอาผู้ที่สงสัย หรือมีโรคดังกล่าวออกไปได้เกือบทั้งหมดแล้วก็ตาม

ข. การแพ้เลือด ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง มีผื่นคัน ภายหลังการได้รับเลือด เกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายต่อเซลล์เม็ดเลือดขาว ลิมโฟไซท์ ซึ่งแพทย์มักให้ยาแก้แพ้รับประทานป้องกันอาการไว้ก่อน ที่จะให้เลือด และปัจจุบันสามารถป้องกันปฏิกิริยานี้ ได้โดยใช้ชุดกรองเลือด เป็นพิเศษ กรองเม็ดเลือดขาวออกจากถุงเลือดที่ให้ผู้ป่วย แต่เครื่องนี้ ราคาแพงประมาณชุดละ 600-900 บาท และใช้ได้เพียงครั้งเดียว ในผู้ป่วยให้เลือดทั่วไป ไม่จำเป็นต้องใช้ แต่ควรใช้และจะมีประโยชน์มาก ในรายที่เตรียมผู้ป่วยสำหรับการปลูกถ่ายไขกระดูก เพราะจะช่วยป้องกัน การเกิดปฏิกิริยาต่อต้านเม็ดเลือดของผู้ให้ไขกระดูกได้

ค. ภาวะความดันโลหิตสูง หลังจากให้เลือด พบได้ประปราย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัว อาเจียน หากรุนแรงมากอาจมีเลือดออกในสมอง ผู้ป่วยซึมลงหรือชักเป็นอันตรายมากได้ ฉะนั้นแพทย์จึงต้อง วัดความดันโลหิตให้ผู้ป่วยก่อนและหลังการให้เลือด และให้ยาขับปัสสาวะ ก่อนให้เลือด ซึ่งจะป้องกันภาวะนี้ได้บ้าง ความดันเลือดสูงมักเกิดขณะให้เลือด หรือเมื่อให้เลือดเสร็จแล้วภายใน 1-2 วัน ฉะนั้นหากผู้ป่วยมีอาการดังกล่าว จำเป็นต้องได้รับการตรวจรักษาเป็นการด่วน

ง. ภาวะเหล็กเกิน ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียที่ซีดเรื้อรังจะมีการดูด ซึมธาตุเหล็กจากอาหารเพิ่มมากขึ้น และ-หรือร่วมกันกับธาตุเหล็ก ที่ได้รับจากการให้เลือด เพราะทุก 1 มิลลิลิตรของเม็ดเลือดแดง มีธาตุเหล็ก 1 มิลลิกรัม ธาตุเหล็กที่ได้รับนี้จะตกค้างอยู่ในร่างกายและไปสะสมในอวัยวะต่างๆ ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่กล่าวมาแล้ว ฉะนั้นการรักษาโรคธาลัสซีเมีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในรายที่มีการให้เลือดมากๆ จึงจำเป็นต้อง ให้ยาขับธาตุเหล็กร่วมด้วย

3. การให้ยาขับธาตุเหล็ก
ยาที่ใช้กันตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และแพร่หลายมากที่สุดคือยา Desferal ซึ่งต้องให้โดยวิธีฉีดเท่านั้น เช่น ฉีดเข้าเส้นเลือด ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แต่วิธีที่นิยมคือฉีด เข้าใต้ผิวหนังให้ยาช้าๆ กินเวลานานครั้งละ 10-12 ชั่วโมง โดยใช้เครื่องช่วยให้ยาเรียกว่า Infusion หากมีภาวะเหล็กเกินมาก หรือในรายที่ให้เลือดสม่ำเสมอ ต้องให้ยาขนาด 40-60 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม สัปดาห์ละ 5-6 วัน จึงจะขับธาตุเหล็กออกได้เต็มที่ จนไม่มีเหล็กเกิน ผู้ปกครองหรือผู้ป่วยจะต้องเป็นผู้ฉีดยาเอง นิยมฉีดก่อนนอน และถอดเข็มออกเมื่อตื่นนอนตอนเช้า เหล็กจะถูกขับถ่ายออกจากร่างกาย ทางปัสสาวะและอุจจาระ จะสังเกตได้จากสีปัสสาวะที่เข้มขึ้นมาก ขณะขับธาตุเหล็กต้องมีการติดตามอาการผู้ป่วย และระดับธาตุเหล็กในร่างกาย โดยการตรวจเลือดดูระดับซีรั่มเฟอไรติน (serum ferrin) เป็นระยะๆ ทุก 6 เดือน ถ้าซีรั่มเฟอไรตินอยู่ในระดับ 1000 ไมโครกรัมต่อลิตร หรือต่ำกว่าแสดงว่า ควบคุมระดับธาตุเหล็กได้ดี ปัจจุบันยาขวดละ 500 มิลลิกรัม ราคา 135 บาท ฉะนั้นสำหรับผู้ป่วยน้ำหนักตัว 20 กิโลกรัม จ่ายค่ายาประมาณ 3,000 บาทต่อเดือน ส่วน Infusion pump เดิมราคาเครื่องละ 2-3 หมื่นบาท แต่ต่อไปนี้ผู้ป่วยที่ต้องการใช้เครื่องมือนี้ จะขอซื้อเครื่องมือได้ จากมูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย ในราคาเครื่องละ ประมาณ 4,000 บาท ผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่ได้รับเลือดจนหายซีดอย่างสม่ำเสมอ และได้ยาขับธาตุเหล็ก จนไม่มีภาวะเหล็กเกินจะมีสุขภาพแข็งแรงและอายุยืนยาว

มักมีคำถามจากผู้ปกครองเสมอว่า มียาชนิดรับประทาน ที่จะใช้ขับเหล็กหรือไม่ เพราะการฉีดยาทำให้ผู้ป่วยเจ็บ ต้องให้เป็นเวลานานเกิดความเบื่อหน่าย และบางครั้งมีปัญหาเฉพาะ ที่เป็นแผล หรือรอยแข็งเป็นไตบริเวณที่ฉีด จึงขอเรียนว่า ปัจจุบันนี้นักวิจัย ได้มีการทดลองและพยายามพัฒนายาขับเหล็กชนิดรับประทานหลายชนิด คาดว่า 2-3 ปีข้างหน้านี้น่าจะมียาขับเหล็กชนิดรับประทาน ที่นำมาใช้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ และมีปัญหาข้างเคียงน้อยจนเป็นที่ยอมรับได้

4. การตัดม้าม
ม้ามเป็นอวัยวะในช่องท้องด้านบนทางซ้าย ปกติจะมีขนาด เล็กคลำไม่ได้ ในผู้ป่วยธาลัสซีเมียจะมีม้ามใหญ่ ระยะแรกม้าม จะช่วยในการสร้างเม็ดเลือด แต่ม้ามมีหน้าที่ทำลายเม็ดเลือดแก่ๆ ที่จะตายด้วยในผู้ป่วยธาลัสซีเมีย เม็ดเลือดแดงผิดปกติจะแตกตายเร็ว ม้ามต้องทำหน้าที่มาก ม้ามจึงโตขึ้น ๆ เมื่อม้ามโตมาทำให้ท้องป่องอึดอัด และกลับเพิ่มการทำลายเม็ดเลือดมากขึ้น ผู้ป่วยบางรายม้ามโตมากจนเต็มท้อง ทำให้ต้องให้เลือดถี่มากขึ้นๆ ทุกเดือนหรือทุก 2-3 สัปดาห์ก็ยังซีดอยู่ แพทย์จึงพิจารณาตัดม้าม ซึ่งมีผลดี หลังการตัดม้ามทำให้หายอึดอัด และอัตราการให้เลือดจะลดลงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคฮีโมโกลบินเอ็ช มักไม่ต้องให้เลือดอีกเลย แต่ ผลเสียของการตัดม้ามก็มี คือ อาจมีภาวะติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กอายุน้อยกว่า 4 ปี แพทย์จึงมักไม่ตัดม้ามเด็กอายุน้อยกว่า 4 ปี หลังตัดม้าม ผู้ป่วยจะต้องกินยาปฏิชีวนะเพนนิซิลลิน วี (Pen V) 1 เม็ด เช้า-เย็น อย่างน้อย 2-3 ปีหรือจนพ้นวัยเด็ก ที่สำคัญในผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย ทั้งก่อนและหลังการตัดม้ามคือ หากมีไข้สูงอ่อนเพลียมาก ซีดลง หรือท้องร่วงร่วมด้วยไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน เพราะอาจเกิดการติดเชื้ออื่นๆ ที่รุนแรงที่ไม่ตอบสองต่อ Penicillin V ก็ได้ นอกจากนี้ภายหลังตัดม้าม การดูดซึมธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น และเหล็กซึ่งเดิมเคยสะสมที่ม้ามได้ด้วยจะไปสะสมในอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ ตับอ่อนเกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นตับแข็ง เบาหวาน แพทย์ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนการตัดม้าม

5. การปลูกถ่ายไขกระดูก
ปัจจุบันเป็นวิธีเดียวที่สามารถรักษาโรคธาลัสซีเมียให้หายขาด ได้ หลักการคือ ผู้ป่วยมีเซลล์เม็ดเลือดแดง และเซลล์ต้นกำเนิด ในไขกระดูกผิดปกติ ต้องกำจัดเซลล์เหล่านี้ให้หมดโดยการ ให้ยาเคมีบำบัดขนาดสูง แล้วให้เซลล์ต้นกำเนิด ที่ได้จากไขกระดูก ที่ปกติเข้าไปแทนที่แก่ผู้ป่วย ทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดที่ปกติขึ้นมาใหม่ได้ ส่วนใหญ่แพทย์จะเลือกทำการปลูกถ่ายไขกระดูกในรายที่ผู้ป่วย เป็นโรคธาลัสซีเมียที่รุนแรง แต่ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อนของโรค ธาลัสซีเมียชัดเจน เช่น ไม่มีตับแข็ง หรือเป็นเบาหวาน ได้แก่ธาลัสซีเมียในเด็กนั่นเอง และมีพี่น้องที่ไม่เป็นโรค รวมทั้งมีลักษณะทางพันธุกรรมของเลือดที่เรียกว่า เอ็ชแอลเอ (Human Lymphocyte Antigen : HLA) เหมือนกับผู้ป่วย

ขั้นตอนการปลูกถ่ายไขกระดูก คือ

5.1 ตรวจเลือดพี่หรือน้องพ่อแม่เดียวกัน (ต่างเพศกันก็ใช้ได้) ว่าไม่เป็นโรค (เป็นพาหะก็เป็นผู้ให้ไขกระดูกได้) และมีสุขภาพสมบูรณ์ดี

5.2 ตรวจเลือดผู้ให้ไขกระดูกและผู้ป่วย ว่ามี HLA ตรงกัน หรือไม่ (หมู่เลือด A B O ไม่ตรงกันก็ใช้ได้) ซึ่งโอกาสที่ HLA จะตรงกันเท่ากับ 1 ใน 4 พร้อมกันนี้มีการตรวจภาวะติดเชื้อตับอักเสบ, AIDS, และไวรัสบางชนิด เช่น CMV ไปด้วย ขั้นตอนนี้เสียค่าใช้จ่ายประมาณ 10,000 บาท แพทย์จะตรวจเลือดบิดา และมารดาพร้อมกันไปด้วย เพื่อประกอบการพิจารณาผล หาก HLA ตรงกัน จึงทำการปลูกถ่ายไขกระดูกได้ ในผู้ป่วยที่ได้รับเลือดมาหลายครั้ง จะต้องตรวจภูมิต่อต้านเกร็ดเลือด (platelet antibody) ด้วย หากมี antibody จะต้องหาผู้บริจาคเกร็ดเลือดที่เข้ากันได้ ถ้าผู้ป่วยไม่มีภูมิต่อต้านไวรัส CMV (CMV antibody negative) ก็ต้องหาผู้บริจาคที่มี CMV negative เตรียมไว้ให้บริจาคแก่ผู้ป่วยด้วยเช่นกัน

5.3 เตรีมผู้ป่วยให้พร้อมที่จะรับการปลูกถ่ายไขกระดูก ได้แก่ การตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด ทำฟัน ถ่ายพยาธิ แล้วรับผู้ป่วย ไว้ในห้องแยกที่สะอาด และได้รับการดูแลพิเศษ ใส่สายสวน เข้าทางหลอดเลือดดำใหญ่ (ต้องดมยาสลบ) ซึ่งสายนี้ใส่ไว้ได้นานหลายเดือน สามารถดูดเลือดจากสายเพื่อนำไปตรวจต่างๆ โดยไม่ต้องเจาะเลือดจากเส้นอื่น เพื่อความสะดวกและผู้ป่วยไม่เจ็บ รวมทั้งใช้ในการให้ยา สารอาหาร เลือดและเกร็ดเลือด ต่อจากนั้นให้ยากดภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันมิให้เกิดภาวะต่อต้านกันของไขกระดูกที่จะนำมาให้ผู้ป่วย และให้ยาเคมีบำบัดแก่ผู้ป่วย เพื่อกำจัดเซลล์ต้นกำเนิดที่ผิดปกติของผู้ป่วยให้หมดไป ไขกระดูกของผู้ป่วยจะว่าง พร้อมที่จะรับไขกระดูกปกติให้เข้าไปแทนที่ และเจริญต่อไป

5.4 ให้ยาสลบแก่ผู้ให้ไขกระดูก และแพทย์จะเจาะไขกระดูก บริเวณสะโพกออกมาจำนวนมากพอสำหรับผู้ป่วย (20 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักเป็นกิโลกรัมของผู้ป่วย) หากจำเป็นแพทย์จะให้เลือดทดแทน เมื่อเสร็จสิ้นการเจาะไขกระดูก นำไขกระดูกที่เจาะได้ไปให้แก่ผู้ป่วย ทางสายสวนที่ใส่ไว้ในหลอดเลือดดำใหญ่ สำหรับผู้ให้ไขกระดูก ต้องอยู่โรงพยาบาลเพียง 2-3 วัน เท่าที่ผ่านมาทุกรายปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

5.5 การดูแลติดตามผลภายหลังการปลูกถ่ายไขกระดูก หลังให้ยากดภูมิคุ้มกันและเคมีบำบัด จะทำให้เม็ดเลือดแดงเม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือดของผู้ป่วยลดต่ำลงมาก อาจมีผลให้ติดเชื้อได้ง่าย มีเลือดออกและซีดลงได้ การให้ยาปฏิชีวนะ เลือดและเกร็ดเลือด รวมทั้งการดูแลใกล้ชิดจะช่วยประคับประคอง ให้ผู้ป่วยพ้น ภาวะแทรกซ้อนไปได้ พร้อม ๆ กันนี้ไขกระดูกใหม่ที่ผู้ป่วยได้รับ ก็จะสร้างเม็ดเลือดใหม่ ๆ มาแทนที่ได้ภายในเวลา 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยมักต้องอยู่โรงพยาบาลนาน 1.5-2 เดือน จนกว่าจะปลอดภัย และยังต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน 6 เดือน และยาป้องกัน การติดเชื้อต่ออีกประมาณ 12 เดือน จึงหยุดยาได้ การติดเชื้อ ต่ออีกประมาณ 12 เดือน จึงหยุดยาได้

การหายจากโรคสามารถติดตามดูได้จากการตรวจเลือด และไขกระดูก ซึ่งจะกลับมาเป็นเหมือนกับเลือดของพี่หรือน้องที่เป็นผู้ให้ไขกระดูก ทั้งหมู่เลือด และลักษณะของเม็ดเลือด แต่ลักษณะทางพันธุกรรม จะไม่ถูกเปลี่ยนไปด้วย เพราะปลูกถ่ายเฉพาะไขกระดูก ไม่ได้เปลี่ยนรังไข่ หรือเซลล์สืบพันธุ์เพศ ผู้ป่วยที่หายจากโรคแล้ว จึงต้องตรวจเลือดคู่สมรสก่อนการมีบุตร เช่นเดียวกับ ผู้ที่เป็นโรคคนอื่นๆ

6. การใช้เลือดสายสะดือรักษาโรคธาลัสซีเมีย
เลือดสายสะดือของทารกแรกเกิด มีเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถ เจริญเป็นเม็ดเลือดชนิดต่างๆ ได้ เช่นเดียวกับเซลล์ไขกระดูก จึงสามารถนำเลือดสายสะดือมาปลูกถ่ายให้ผู้ป่วย เพื่อรักษาโรคธาลัสซีเมียได้เช่นเดียวกับการปลูกถ่ายไขกระดูก ทำโดยใช้เลือดสายสะดือของน้อง ที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยตั้งแต่ ในครรภ์มารดาที่ไม่เป็นโรค มารดาต้องมาคลอดกับแพทย์ และมีการเก็บเลือดสายสะดือไว้ให้มากที่สุดอย่างถูกวิธีและสะอาด ปราศจากเชื้อ แพทย์จะแบ่งเลือดสะดือส่วนหนึ่งไปตรวจซ้ำว่า ทารกไม่เป็นโรค ตรวจหมู่เลือดและ เอ็ช แอล เอ (HLA) หาก HLA เข้ากันได้กับพี่ที่เป็นโรคก็สามารถนำมาปลูกถ่ายใช้รักษาพี่ได้ โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น เดียวกับการปลูกถ่ายไขกระดูก ข้อดีคือ ไม่ต้องเจาะไขกระดูกของน้อง ไม่รบกวนทารกเพราะดูดเลือด จากสายสะดือและจากรก แต่ต้องมีการวางแผนล่วงหน้า ในการฝากครรภ์การวินิจฉัยทารกในครรภ์และการคลอดของมารดา

ปัจจุบัน (พฤษภาคม 2540) ที่โรงพยาบาลศิริราช ได้ทำการปลูกถ่ายไขกระดูกรักษาผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย ในเด็กไปแล้วรวม 28 ราย หายจากโรค 22 ราย โรคกลับเป็นอีก 4 ราย และถึงแก่กรรม 2 ราย จากโรคติดเชื้อ ส่วนการรักษา โดยใช้เลือดสายสะดือของน้อง ทำไปแล้วรวม 7 ราย พบว่า ส่วนใหญ่ได้ผลดี ผู้ป่วยหายจากโรค 4 ราย แต่ถึงแก่กรรมไป 2 ราย (ผู้ป่วยรายนี้เป็นเด็กโต อายุมากและมีธาตุเหล็กเกินมาก) ผลการรักษาจะดีหากมีการเตรียมผู้ป่วยอย่างดี มีการวางแผนล่วงหน้า ทั้งที่เกี่ยวข้องกับการให้เลือด การให้ยาขับธาตุเหล็กและการรักษา หากทำแต่เนิ่นๆ ก่อนมีภาวะแทรกซ้อน

ค่าใช้จ่ายในการปลูกถ่ายไขกระดูกและการปลูกถ่ายเลือดสายสะดือ ใกล้เคียงกันคือประมาณ 100,000 บาท-400,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ น้ำหนักตัวของผู้ป่วย และภาวะแทรกซ้อน

7. การเปลี่ยนยีน
เนื่องจากปัจจุบันทราบสาเหตุของโรคทางพันธุกรรมว่า มีความ ผิดปกติของยีนที่ใด อย่างไร ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถทำการเปลี่ยนยีนได้ โดยมีวิธีที่จะเอายีนที่ปกติเข้าไปแทนที่ยีนผิดปกติ ทำสำเร็จ ในโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดหนึ่งแล้ว คาดว่าในอนาคตอันใกล้ จะมีการใช้วิธีเปลี่ยนยีนนี้ รักษาโรคทางพันธุกรรมได้อีกหลายโรค รวมทั้งโรคธาลัสซีเมียด้วย

การควบคุมป้องกันโรค
โรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบมากในบ้านเรา ผู้ที่เป็นโรคมีอาการเรื้อรังและรักษายาก เป็นปัญหาต่อสุขภาพ ทั้งกายและใจอย่างมาก การรู้จักโรคนี้และเข้าใจแบบแผนการถ่ายทอด ทางพันธุกรรม จะทำให้ประชาชนเห็นความสำคัญและสนใจที่จะมีส่วนร่วม ในการควบคุมป้องกันโรค ตามที่กล่าวแล้วว่าผู้เป็นโรคคือ ผู้ที่ได้รับยีนผิดปกติมาจากทั้งบิดาและมารดาซึ่งเป็นพาหะ และพาหะคือ คนแข็งแรงปกติ แต่มียีนธาลัสซีเมียแฝงอยู่ ปัจจุบันการตรวจเลือดโดยวิธีพิเศษ (ตรวจเลือดเลือดโดยวิธีพิเศษ คือ การตรวจเพื่อหาภาวะแฝงและโรคธาลัสซีเมีย ทำได้ที่โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย, โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลเอกชนบางแห่ง) จะบอกได้ว่าผู้ใดปกติ ผู้ใดเป็นโรค ผู้ใดเป็นพาหะและเป็นพาหะชนิดใด ฉะนั้นต้อง ตรวจเลือดโดยวิธีพิเศษ จึงจะทราบแน่นอน

ใครบ้างที่จะเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย ?
คนทั่วไปมีโอกาสจะเป็นพาหะ หรือมียีนของธาลัสซีเมียชนิด ใดชนิดหนึ่งถึงร้อยละ 30-40
ชายหญิงที่มีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียต้องมียีนธาลัสซีเมียเสมอ
พี่น้องหรือญาติของผู้เป็นโรคธาลัสซีเมีย หรือพาหะของโรคธา ลัสซีเมียมีโอกาสที่จะมียีนธาลัสซีเมียมากกว่าคนทั่วไป

ใครบ้างที่อาจมีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมีย?
คู่สามีภรรยาที่เคยมีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมียมาก่อน หรือสามี และภรรยาที่มียีนธาลัสซีเมียพวกเดียวกันดังที่กล่าวมาแล้ว

จะเห็นได้ว่าโดยสรุป ควรมีการตรวจเลือดคู่สมรสที่จะมีลูก อาจตรวจคนเดียวก่อน หากเป็นพาหะของธาลัสซีเมีย หรือมียีนธาลัสซีเมีย ต้องตรวจคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง หาคู่สมรสเป็นพาหะของธาลัสซีเมียพวกเดียวกัน ถ้ามีลูกก็มีอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคดังกล่าวแล้ว แพทย์จะให้คำอธิบายถึง อัตราเสี่ยงและความรุนแรงของโรคในลูก ทางเลือกของคู่สมรส ที่มีอัตราเสี่ยงในการมีลูกเป็นโรคชนิดที่รุนแรงคือ

ไม่มีลูกของตนเอง โดยคุมกำเนิดหรือทำหมัน
ยอมเสี่ยงที่จะมีลูกที่เป็นโรค
ตรวจทารกในครรภ์ว่าเป็นโรค ปกติหรือเป็นพาหะ
การวินิจฉัยตรวจโรคตัวอ่อนก่อนนำไปฝังตัวในมดลูก ก่อนการ ตั้งครรภ์ (Preimplantation) จะทำให้สามารถเลือกทารกที่ไม่เป็นโรคได้ เป็นโครงการในอนาคต

ปัจจุบันด้วยภาวะเศรษฐกิจและสังคมครอบครัวส่วนใหญ่มักจะมี บุตรน้อย หากมีบุตรพอแล้วจึงควรทำหมัน

สำหรับการตรวจทารกในครรภ์ ต้องทำแต่เนิ่นๆ ในคู่สมรส ที่มีความเสี่ยงที่จะมีลูกเป็นโรค ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผน การตรวจตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ หรือทันทีเมื่อสงสัยว่าตั้งครรภ์ ควรตรวจกับสูติแพทย์ว่าตั้งครรภ์จริง และคาดคะเนอายุครรภ์ ด้วยเครื่องมืออัตราซาวนด์ แพทย์จะตรวจเลือดคู่สมรสซ้ำ ดูรายละเอียดของความผิดปกติของยีนธาลัสซีเมีย เพื่อวางแผน การวินิจฉัยทารกในครรภ์ และแพทย์จะนัดตรวจทารก โดยการเจาะด้วยเข็มพิเศษผ่านทางช่องคลอด หรือทางหน้าท้อง นำน้ำคร่ำ หรือเลือดของทารก หรือชิ้นรกซึ่งเป็นเนื้อเยื่อของทารกไปตรวจ การตรวจจะทำเมื่ออายุครรภ์เพียง 6-18 สัปดาห์ ทั้งนี้สุดแต่ชนิด ของยีนที่ผิดปกติ ตามความเหมาะสมในแต่ละรายไป

http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/ri/Npublic/p04.htm
http://www.vcharkarn.com/varticle/43034

Thursday, September 1, 2011

กำจัดขนในที่ลับ Bikini hair removal

กำจัดขนในที่ลับ Bikini hair removal กำจัดขนในที่ลับ Bikini hair removal
รู้ลึกเรื่องกำจัดขนในที่ลับ Bikini hair removal บทสัมภาษณ์ นพ.วิสูตร วงษ์กล้าหาญ ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกำจัดขนและเส้นเลือดขอด จากนิตยสารคอสเมติก ประจำเดือนมิถุนายน 2554

กำจัดขนในที่ลับ แม้จะเป็นพื้นที่ส่วนตัวที่ไม่ได้คิดไปอวดใคร ๆ แต่ขนบริเวณภายใต้บิกินี่ตัวน้อยนี้ ก็สร้างความกังวลใจให้กับคุณผู้หญิงอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคู่สามีภรรยาที่มีรสนิยมชอบ Oral Sex ที่แม้จะรักกันอย่างไรการปล่อยให้มีขนรุงรัง สะสมกลิ่นอับชื้นก็อาจกระทบอารมณ์เซ็กส์ให้หดหายไปได้ นอกจากนี้แล้วคนที่สนใจกำจัดขนถาวรส่วนใหญ่มักเป็นคนที่ชอบกำจัดขนด้วยตนเองเป็นประจำอยู่แล้ว ถือเป็นอีกมุมของผู้หญิงที่ใส่ใจความสวยงามทุกรายละเอียดในแบบลับเฉพาะจริง ๆ

วิธีกำจัดขนชั่วคราว กำจัดขนในที่ลับ ที่ผู้หญิงนิยม

- ใช้ยาทากำจัดขนทั่วไป ที่มีส่วนผสมของไดซัลไฟด์ ซึ่งจะออกฤทธิ์ไปกัดตรงส่วนต่อระหว่างขนที่โผล่พ้นผิวหนังให้หลุดออกมา ปกติแล้วยาทากำจัดขนเหล่านี้มักมีส่วนผสมของสารหลายชนิดที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังในบริเวณที่บอบบาง ทำให้เกิดผื่นแพ้ได้ง่าย

- การถอน การแวกซ์ และการใช้ลูกกลิ้งไฟฟ้า การกำจัดขนด้วยวิธีเหล่านี้มักทำให้เกิดความบอบช้ำบริเวณผิวหนัง รวมทั้งการใช้คีมหนีบเนื่องจากเห็นไม่ชัดอาจหนีบลึกเกินไปทำให้รูขุมขนบิดเบี้ยว บวมช้ำ ตีบแคบ เมื่อขนใหม่ยาวขึ้นมาไม่ได้ก็จะมุดลง ทำให้เกิดขนคุด (in grown hair) กลายเป็นตุ่มนูน เกิดอาการคัน ทำให้รำคาญ อดไม่ได้ที่จะมากด บีบ เค้น ทำให้เกิดเป็นแผลได้

- การโกน วิธีนี้ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ้พราะเป็นส่วนที่บอบบางมาก พอเกิดความรำคาญใจกับผลที่ได้จากการกำจัดขนต่าง ๆ เหล่านี้ บางคนก็เลือกที่จะหันมากำจัดขนถาวรเพื่อช่วยให้สะดวก และสบายใจมากขึ้นด้วยหลายเหตุผล เช่น ต้องการกำจัดขนบริเวณบิกินี่ไลน์ บางคนมีขนเยอะทำให้เกิดกลิ่นอับขึ้นได้ง่ายก็จะมากำจัดให้ลดลง หรือทำเพื่อความสวยงาม แต่งให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ เช่น รูปหัวใจ หรือกำจัดออกทั้งหมด ซึ่งบางครั้งเกิดจากความต้องการของคู่สมรส โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีสามีเป็นชาวต่างชาติ

สำหรับคนที่คิดจะทำต้องทำความเข้าใจก่อนว่าปริมาณขนที่งอกออกมาให้เห็นนั้นมีเพียง 20% เท่านั้น ไม่ใช่ปริมาณขนทั้งหมดที่มี เพราะใต้ผิวหนังยังมีรากสำรองที่ยังไม่เจริญเติบโตหรืออยู่ในระยะพักอีก 80% ดังนั้นก่อนที่จะมาทำต้องหยุดกำจัดขน ประมาณ 1-2 อาทิตย์หรือหยุดเท่าที่พอจะห้ามใจได้ เพื่อให้ขนขึ้นเห็นชัดเจนและมีปริมาณมากพอในการทำแต่ละครั้ง

เทคนิคการกำจัดขนถาวร กำจัดขนในที่ลับ มีให้เลือก 2 แบบ คือ

1. เลเซอร์ มีหลายชนิดแต่ที่ได้ผลดีแนะนำเป็น yag laser มีหัวเลเซอร์ขนาดใหญ่ขึ้น ประมาณ 10-18 มิลลิเมตร ยิง 1 shot จะได้ครั้งละหลายเส้น (ขนตรงบริเวณอวัยวะ 1 ตารางเซนติเมตร มีประมาณ 80 เส้น) โดยแสงเลเซอร์จะไปจับเม็ดสี (pigment) ของขนได้ในระยะ anagen ที่ใต้ผิวหนัง (จึงต้องให้หยุดกำจัดขนด้วยตัวเองก่อน) เพราะถ้าเป็นระยะอื่นจะไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร เมื่อพร้อมแล้วแพทย์จะทายาชาให้ หลังจากนั้นรอยาออกฤทธิ์ประมาณครึ่งชั่วโมง - 1 ชั่วโมง ใช้เวลายิงเลเซอร์ประมาณ 5 นาที หรือขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ต้องการให้ทำ

2. คลื่นวิทยุ RF การใช้คลื่นวิทยุกำจัดขนถาวรเหมาะสำหรับบิกินี่ไลน์ และการแต่งให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ ผลพลอยได้คือ ผิวหนังตรงบริเวณที่ทำจะแห้งขึ้นเพราะต่อมเหงื่อจะถูกกำจัดไปด้วยบางส่วนสำหรับการกำจัดขนถาวรด้วยคลื่นวิทยุนี้ แพทย์ต้องฉีดยาชาให้ เพราะขั้นตอนการทำเจ็บกว่าการยิงเลเซอร์ (หมายความว่าเลเซอร์ก็เจ็บด้วยเหมือนกันนะ) จะทำได้ค่อนข้างคมและเนียนกว่า

ในการกำจัดขนแต่ละครั้งปริมาณจะลดลงครั้งละ 20% หากใครที่ต้องการให้ลดลงก็อาจจะทำ 3-4 ครั้ง หรือจนกว่าจะพอใจ ส่วนคนที่ต้องการให้เนียนเลยประมาณ 5-7 ครั้ง ก็จะหมด (ขึ้นอยู่กับสีผิว ความแข็งแรงของรากขนและความหนาแน่น)

ผลข้างเคียง กำจัดขนในที่ลับ

- การใช้เลเซอร์อาจเห็นรอยแดงประมาณ 1 วัน
- ถ้าเป็นคลื่นวิทยุรอยแดงจะอยู่ประมาณ 2-7 วัน ก็จะหาย

ค่าใช้จ่าย กำจัดขนในที่ลับ

- เลเซอร์ ถ้ากำจัดขนถาวรทั้งหมด ราคา 8,000 บาทต่อครั้ง แบบแพคเกจ 3 ครั้ง ราคา 20,000 บาท ถ้าเกิน 3 ครั้งขึ้นไปคิดราคา 50% ต่อครั้ง

- คลื่นวิทยุ ซื้อเข็มเล่มละ 2,200 บาท (ใช้เฉพาะบุคคล) คิดราคาแบบจับเวลาชั่วโมงละ 3,000 บาท ถ้าเป็นบิกินี่ไลน์ ครั้งละ 5,000 บาท แบบแพคเกจ 3 ครั้งประมาณ 12,000 บาท เกิน 3 ครั้งขึ้นไปคิดราคา 50% ต่อครั้ง

http://www.yanhee.co.th/2007/knowledge.php?knowID=9
http://ocwax.com/2011/06/22/why-hard-wax-is-better-for-your-bikini/
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...