หมอนรองกระดูก เป็นอวัยวะส่วนสำคัญที่สันหลัง เป็นหมอนรองกระดูที่ช่วงคั่นกลางรอยต่อของสันหลังแต่ละข้อและระหว่างระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละคู่ โดยหมอนรองกระดูกนี้มีลักษณะยืดหยุ่น เพื่อช่วยให้สันหลังเคลื่อนไหวได้ มีขอบเป็นพังผืดเหนียวแข็งแรง ประกอบไปด้วยเส้นใยประสานกัน ส่วนภายในมีของเหลวคล้ายเจลบรรจุอยู่ ทำหน้าที่รองรับและกระจายน้ำหนัก และลกแรงกระแทกให้กระดูกสันหลังของเรา และทำให้หลังเคลื่อนไหวในทิศทางต่าง ๆ ได้ คุณหมอที่เคยผ่าตัดคุณแม่บอกว่า ภายในโพรงของกระดูกสันหลัง จะมีไขสันหลังบรรจุอยู่และมีเส้นประสาทแยกแขนง จากไขสันหลังไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เส้นประสาทส่วนต้นสุดที่แยกแขนงออกจากไขสันหลัง เรียกว่า “รากประสาท” ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ชิดกับหมอนรองกระดูก บางคนอาจมีการเคลื่อนตัวของหมอนรองกระดูก ไปรบกวนหรือกดทับถูกรากประสาท ทำให้เป็นโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน ที่เรียกว่า “รากประสาทถูกกด"
อิริยาบถและท่าทางที่ไม่เหมาะสม เช่น ยกของหนัก นั่งนาน การออกกำลังกายรุนแรง จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปลอกหมอนรองกระดูกฉีกขาด ทำให้แยลลี่เคลื่อนที่ออกมากดเส้นประสาท
อาการเริ่มต้นของโรค
1. เริ่มปวดคอ บ่า ไหล่ สะบัก หรือปวดคอร้าวลงแขนข้างใดข้างหนึ่งหรือสองข้าง หรืออาจจะมีอาการชาแขนหรือมือ และไม่มีแรงแขน หาดเป็นที่ระดับคอ
2. เริ่มปวดหลัง หรือปวดหลังร้าวลงขา หรือปวดสะโพกร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ปวดมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าหมอนรองกระดูกเคลื่อนออกมากดเส้นประสาทมากหรือน้อย ถ้าทิ้งไว้นาน ๆ เส้นประสาทจะทำงานได้น้อยลง อาการชาเหมือนมีเข็มมาทิ่ม หรือมดไต่อยู่ตลอดเวลา และอ่อนแรงหรือไม่มีแรงของขาข้างนั้นจะเริ่มเด่นชัดขึ้น
สำหรับอาการของแม่ฉันเริ่มจากการปวดหลัง ต่อมาก็ร้าวลงขาข้างขวา จนในที่ก็ไม่มีแรงขาทำให้เดินไม่ค่อยได้ หรือบางทีเดินอยู่ก็หมดแรงของกำลังขาไปเฉย ๆ ทำให้ต้องรีบไปพบแพทย์แล้วรู้ทีหลังว่าเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสานแล้ว ทำให้ต้องเริ่มการรักษาตั้งแต่นั้น จนมีระยะเวลา 7 ปีกว่าแล้ว และได้รับการผ่าตัดไปแล้ว เมื่อต้นปี 53 แต่เมื่อไม่นานมานี้แพทย์ตรวจพบว่ายังมีอีก 2 ข้อที่ยังกดทับเส้นประสาทอยู่ ทำให้ต้องรีบทำการผ่าตัดโดยด่วน
วิธีรักษาจะทำอย่างไร
หากเกิดอาการหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท ควรรีบไปพบแพทย์ หรือที่เรียกกันว่า “นักกายภาพบำบัด” ซึ่งจะให้การรักษาโดยวิธีกายภาพบำบัดก่อน ไม่ใช้ยา ฉีดยา หรือไม่ต้องผ่าตัดแต่ก่อนอื่นนั้นจะต้องมีการซักประวัติตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อให้แน่ใจว่าอาการดังกล่าวนั้นเกิดจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เนื่องจากการปวดหลังหรือปวดหลังร้าวลงขา อาจมาจากสาเหตุอื่นได้เช่น
1. กล้ามเนื้อสะโพกอักเสบเรื้อรังจนบีบเส้นประสาท
2. กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรังของหลัง
3. ข้อต่อกระดูกเชิงกรานผิดปกติ
สำหรับแม่ฉันท่านใช้วิธีการผ่าตัด เพราะอาการหนักมากแล้ว ทั้งทานยาละงับปวด ฉีดยา ก็ยังไม่ดีขึ้น หมอจึงตัดสินใจผ่าตัดให้ถึงแม้จะมีความเสี่ยงก็ตาม
การรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โดยวิธีบำบัดมีดังนี้
1. ลดอาการปวดและอาการเกร็งกล้ามเนื้อ โดยใช้ประคบร้อน หรืออัลตราซาวด์ จะต้องขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย
2. ลดการอักเสบของเส้นประสาท ใช้เทคนิคการยืด ดัด ขยับเส้นประสาท
3. ลดการกดทับเส้นประสาท ดัดข้อต่อกระดูกสันหลัง หรือหมอนรองกระดูก เพื่อให้ขยับหมอนรองกระดูกที่เคลื่อนออกมา
4. ลดอาการอักเสบของหมอนรองกระดูกสันหลัง อาจใช้ประคบเย็น หรืออัลตราซาวด์ จะต้องขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย
5. แนะนำวิธีปฏิบัติตัวและท่าออกกำลังกายในขณะมีภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และหลังจากรักษา เพื่อป้องกันโอกาสที่จะเป็นซ้ำอีก
การป้องกันหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
1. ออกกำลังกายกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้องอย่างสม่ำเสมอ
2. ลดงานของกล้ามเนื้อหลังลง โดยปรับท่านั่งให้หลังตรงหรือเดินตัวตรง
3. การปรับเปลี่ยนท่าทางให้เหมาะสม เช่น อย่านั่งนานเกินไป ควรลุกขึ้นยืน ทุก ๆ ชั่วโมง หรือยกของไม่ควรก้ม ควรย่อเข่าแล้วยกของ และถือของชิดตัว
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท Bone disease
http://www.lazyleo.com/joomla/2010-06-05-15-43-56/389-2010-09-20-14-34-55
http://www.nokroo.com/BrowseContent.php?cat_id=27&id=18388